เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. (TCEB) ร่วมกับ บริษัท เวลคัม ทู เชียงราย จำกัด หน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิเช่น วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย, พาณิชย์จังหวัดเชียงราย, ททท. สำนักงานเชียงราย, พัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย, องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (อบจ.), สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่นยืนเชียงราย (อพท.เชียงราย), มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์, บริษัท เชียงรายพัฒนาเมือง (ซีอาร์ซีดี), มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเชียงราย, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย, สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดเชียงราย, ธนาคาร SME BANK, ประธานชมรมภัตตาคารเชียงของ และผู้ประกอบการร้านเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ จำนวน 37 แห่ง อาทิเช่น วรากรไหมฝ้าย, ผ้าฝ้าย บัวละวงศ์, กะเหรี่ยงผ้าฝ้าย, ล้านนาผ้าฝ้าย, เพ็ญศรีผ้าทอ, กลุ่มผ้าปักทอมือชนเผ่าบ้านยางคำนุ, ผ้าฝ้ายพิมพ์ลาย by Thanutsikan, ฮักผ้าฝ้ายกลุ่มทอผ้าและผ้ามัดย้อมบ้านท่าฮ่อ, จุฬาผ้างาม, กลุ่มสตรีทอผ้าศรีดอนชัย, โตโมโต้ผ้าทอเชียงราย, ผ้าปักมือชนเผ่าบ้านหาดไคร้, กนกผ้าฝ้าย, ผ้าเขียนเทียน บ้านห้วยหาน, กลุ่มผ้าปักด้วยมือบ้านสันกอง, กลุ่มผาณิตบาติก, I Am Lahu, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมผ้าทอไทลื้อบ้านหาดบ้าย, มาลีญา คราฟ์ แอนด์ ดีไซน์, คุ้มเงิน 925 เชียงราย, ปันญานา, กลุ่มแกะสลักหิน – หยกเวียงพางคาม, วิสาหกิจชุมชนวิถีไทย วีถียอง สันทางหลวง, กลุ่มปักผ้าชนเผ่าลายเย้าบ้านเล่าสิบ, จินเจ้าโครเชต์, วิสาหกิจชุมชนจักสานผักตบชวาบ้านเกี๋ยงลุ่ม, เชียงราย ทองเหลือง, ร้านนันทกรไหมฝ้าย, ฝ้ายทิพย์, ผ้าทอไทลื้อบ้านหาดบ้าย (สุขาวดีผ้าทอไทลื้อ บ้านหาดบ้าย), สะบัดชัย คราฟ แอนด์ อาร์ท จิวเวลรี่, หัสนัยผ้าฝ้าย, Modaloom, ไจ๋ไจ๋สตูดิโอ,ชุมชนบ้านสบคำ (วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน), ชุมชนบ้านสันบุญเรือง ร่วมประชุมสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้หารือเชิงลึก ด้านพัฒนาผ้าและแฟชั่นของจังหวัดเชียงรายด้วยอุตสาหกรรม MICE เพื่อเชื่อมต่อการดำเนินโครงการ Textile Expo 2025 งานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ผ้า แฟชั่นและสิ่งทอของจังหวัดเชียงราย ณ ห้อง Ballroom วัฒนกูล รีสอร์ต อ.แม่สาย จ.เชียงราย
จากการดำเนินโครงการ Chiang Rai Fashion to the World วัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ผ้าและแฟชั่นของเชียงรายเป็นจุดแข็ง และ Soft Power เพื่อสร้างงานและรายได้ให้กับผู้ประกอบการและชุมชนท้องถิ่นของเชียงราย Chiang Rai Fashion to The World ได้ดำเนินโครงมาตั้งแต่ปี 2565 โดยจัดงาน Fashion High Tea ครั้งแรกในเชียงราย ต่อยอดมาปี 2566 จัดทำโครงการ “Fashion on the Road 1st ” Chiang Rai Designer’s Competition และ งานแสดงและตัดสินเชียงรายแฟชั่นโชว์จาก Designers ซีซั่น 2 ในปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 30,31 สิงหาคม และ 1 กันยายน 2567 ความสำเร็จของโครงการนี้เกิดจากการมีส่วนร่วมการสนับสนุนของทุกฝ่ายและทุกหน่วยงานพันธมิตร ซึ่งผลิตภัณฑ์ผ้าและแฟชั่นของจังหวัดเชียงราย สามารถจัดแสดงได้ทั่วโลกผ่านการออกแบบ การผลิต และการนำเสนอในงานขายและการขยายตลาดในประเทศไทยและต่างประเทศ สสปน. (TCEB) เป็นหนึ่งในพันธมิตรของโครงการนี้ โดยมองเห็นโอกาสมากมายที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าและแฟชั่นของเชียงรายโดยการจัดทำโครงการผ้าภาคเหนือของประเทศไทยภายใต้ชื่อ Textiles Expo 2025 (ตุลาคม 2025 ถึง กันยายน 2026) ก่อนงานมหกรรมสิ่งทอ
สสปน. (TCEB) ขอเริ่มต้นด้วยการพิจารณาความเป็นไปได้ในการกำหนดแผนการดำเนินโครงการให้มีความยั่งยืน มีการพัฒนาแบบบูรณาการ เพื่อสร้างงานและรายได้ให้กับชุมชน ท้องถิ่น และทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้องของจังหวัดเชียงราย การพัฒนางานแฟชั่นด้วยอุตสาหกรรม MICE เพื่อสามารถต่อยอดกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายตลาดในประเทศและตลาดโลก และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการ พัฒนาส่งเสริมผ้าไทย แฟชั่น และสิ่งทอ ของประเทศ และ ยกระดับผ้าแฟชั่นของเชียงรายสู่ระดับสากล ตลอดจนการสร้างและพัฒนานักออกแบบของจังหวัดเชียงรายและขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การ พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าของแต่ละภูมิภาคของไทย รวมถึงเปิดช่องทางการขาย ขยายตลาดไปสู่ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศให้สมบูรณ์แบบเป็นไปอย่างต่อเนื่องและนำมาที่ประโยชน์สูงสุดให้จังหวัดเชียงราย การเชื่อมต่อระดับประเทศระดับโลกสร้างงาน สร้างรายได้ และทำให้จังหวัดเชียงรายเป็นเมือง MICE City ในอนาคตอีกด้วย