วันพุธ ที่ 2 ตุลาคม 2567 เวลา 11.00 น. ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) ครบรอบการดำเนินงาน 26 ปี : Northern – Most Sustainable Regional Airportโดย ทชร.จะดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ที่มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและสุขภาพ รวมถึงพัฒนาในด้านการจัดการพื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบินและธุรกิจใหม่ ตลอดจนให้บริการแก่กลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงและภูมิภาคจีนตอนใต้ อีกทั้ง ทชร.จัดอยู่ในประเภท ท่าอากาศยานระดับภาค (Regional Airport) ซึ่งมีความพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนบน และพร้อมพัฒนาก้าวต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบินในอนาคต อีกทั้งพร้อมเป็นพลังในการขับเคลื่อนควบคู่ไปกับจังหวัดเชียงรายตามเจตนารมย์ “สนามบินเป็นกลไกลในการผลักดันเศรษฐกิจของจังหวัด”
และ ในปี 2567 ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ภายใต้การกำกับดูแลของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ครบรอบการดำเนินงาน 26 ปี พร้อมก้าวเข้าสู่ปีที่ 27 ภายใต้การบริหารงานปัจจุบันของ นาวาอากาศตรีสมชนก เทียมเทียบรัตน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย, นางแสงเดือน อ้องแสนคำ รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ด้านสนับสนุนธุรกิจ) และ ดร.สิทธิปัฐพ์ มงคลอภิบาลกุล (ด้านปฏิบัติการและบำรุงรักษา) เป็นผู้ดำเนินการสนามบินสาธารณะที่ได้รับใบรับรองจาก สำนักงานบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)
ในด้านผลการดำเนินงานและปริมาณการจราจรทางอากาศ ในภาพรวมรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา (ตุลาคม 2566 ถึง กันยายน 2567) โดยมีจำนวนเที่ยวบินเฉลี่ย 34 เที่ยวบิน/วัน มีจำนวนผู้โดยสาร 5,210 คน /วัน มีจำนวนเที่ยวบินรวม 12,035 เที่ยวบิน และมีสายการบินที่ให้บริการจำนวน 5 สายการบิน ซึ่งทำการบินเส้นทางภายในประเทศ ประกอบด้วย
- สายการบินไทย (TG) เส้นทางบิน สุวรรณภูมิ – เชียงราย – สุวรรณภูมิ จำนวน 3 เที่ยวบินต่อวัน
- สายการบินไทยเวียตเจ๊ตแอร์ (VZ) เส้นทางบิน สุวรรณภูมิ – เชียงราย – สุวรรณภูมิ จำนวน 3 เที่ยวบินต่อวัน และ เส้นทางบิน ภูเก็ต – เชียงราย – ภูเก็ต จำนวน 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ทำการบินเฉพาะวันจันทร์ / วันพุธ / วันศุกร์ และวันอาทิตย์ โดยเริ่มทำการบิน วันที่ 2 ตุลาคม 2567
- สายการบินไทยแอร์เอเชีย (FD) เส้นทางบิน ดอนเมือง – เชียงราย – ดอนเมือง จำนวน 5 เที่ยวบินต่อวัน
- สายการบินนกแอร์ (DD) เส้นทางบิน ดอนเมือง – เชียงราย – ดอนเมือง จำนวน 5 เที่ยวบินต่อวัน
- สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ (SL) เส้นทางบิน ดอนเมือง – เชียงราย – ดอนเมือง จำนวน 3 เที่ยวบินต่อวัน
และ ในเดือนพฤศจิกายน 2567 สายการบินไทย แอร์เอเชีย จะทำการบินเส้นทางระหว่างประเทศ โดยทำการบินมาจากกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย – เชียงราย จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ทำการบินเฉพาะวันอังคาร / วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ โดยเริ่มทำการบิน วันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 ถึง 29 มกราคม 2568
ในด้านขีดความสามารถเพื่อการก้าวสู่การเป็นท่าอากาศยานที่ดีระดับสากล และตามที่จัดอยู่ในประเภทท่าอากาศยานระดับภาคคณะกรรมการ ทอท.ได้ให้ความเห็นชอบในการเร่งดำเนินการโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน เพื่อรองรับความสามารถในการให้บริการ ซึ่งปัจจุบัน ทชร. มีความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3 ล้านคนต่อปี ดังนั้น จำเป็นต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งปรับปรุงระบบเทคโนโลยีต่างๆ ให้ทันสมัย เพื่อลดความแออัด เพิ่มความสะดวกสบาย รวดเร็ว ปลอดภัยแกผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ โดยดำเนินการแผนพัฒนาตามโครงการพัฒนาระยะที่ 1 ซึ่งมีความคืบหน้า ดังนี้
- งานก่อสร้างระบบทางขับขนานด้านทิศเหนือ ซึ่งขณะนี้ได้เปิดให้บริการเรียบร้อยแล้ว
- งานปรับปรุงพื้นที่หัวทางวิ่งด้าน 03 และ 21 แล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- งานก่อสร้างขยายถนนทางเข้า – ออก ทชร. อยู่ระหว่างขั้นตอนการเซ็นต์สัญญาของผู้รับจ้าง
- กกกกก4. งานก่อสร้างอาคารรับรองบุคคลสำคัญ (VIP / VVIP) อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดทำแบบก่อสร้าง
- งานก่อสร้างอาคารสำนักงาน ทชร. อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดทำแบบก่อสร้าง
- อาคารดับเพลิงและกู้ภัยท่าอากาศยาน อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำข้อกำหนดรายละเอียด
ในด้านเทคโนโลยี เพื่อการตอบสนองและก้าวทันต่อนวัตกรรม และการเชื่อมต่อการเดินทางแบบไร้รอยต่อ ทชร.ได้นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารด้วยระบบบริการผู้โดยสารขึ้นเครื่อง Common Use Processing System : CUPPS) ณ บริเวณห้องโถงอาคารผู้โดยสารด้านทิศเหนือ ซึ่งการให้บริการด้วยระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติที่ ทชร. นำมาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้โดยสาร ประกอบด้วย เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ (Common Use Self Service : CUSS) และ ระบบตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้โดยสาร (Passenger Validation System : PVS) โดยใช้ระบบ Biometric ระบุตัวตนผู้โดยสารโดยทำการลงทะเบียนข้อมูลส่วนบุคคลและสแกนใบหน้า Face Recognition ที่จุดให้บริการ หรือใช้งานผ่านระบบเช็คอินด้วยตัวเองอัตโนมัติ ซึ่งทำให้การคัดกรองผู้โดยสารเป็นไปอย่างถูกต้องแม่นยำ สะดวกและปลอดภัย ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในการให้บริการอันจะนำมาซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองผู้โดยสารและยกระดับมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัย อีกทั้งช่วยลดระยะเวลารอคอยของผู้โดยสารอีกด้วย
เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยาน ทชร. ได้เข้าร่วมโครงการในระดับสากล ได้แก่
- เข้าร่วมโครงการจัดอันดับคุณภาพการให้บริการท่าอากาศยาน Airport Service Quality (ASQ)
- เข้าร่วมโครงการ Customer Experience Accreditation ของ Airport Council International (ACI) โดย ทชร. เป็น 1 ใน 100 ท่าอากาศยานแรกที่ได้รับการรับรอง และปัจจุบันได้รับการรับรองในระดับที่ 1 “Level 1”ซึ่งมีจุดประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางให้ท่าอากาศยานบรรลุความเป็นเลิศในการจัดการประสบการณ์ผู้ใช้บริการ
อันเป็นการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของท่าอากาศยาน และหาแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการ เพื่อยกระดับประสบการณ์เดินทางของผู้โดยสารและพัฒนาการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้มาตรฐานสากล
ภายใต้การบริหารงาน ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ทชร.ได้สร้างผลงานและชื่อเสียงให้กับ ทอท. และจังหวัดเชียงราย หลากหลายด้าน และหลากหลายโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว นั้น และสานต่อเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ ทชร. และจังหวัดเชียงราย ในการเป็นกลไกลในการผลักดันเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายที่สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับเมืองหรือชุมชนโดยรอบที่ตั้งอยู่ อาทิเช่น โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน Maintenance, Repair and Overhaul : MRO โดยเป็นการร่วมมือกับ Aviation Industry Corporation of China (AVIC)
อีกทั้ง เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการให้บริการ ทชร. ได้เข้าร่วมโครงการสำคัญกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน จนทำให้ได้รับรางวัลในการดำเนินงานซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจ ดังนี้
- สถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานประจำปี 2567 ระดับประเทศ (ระดับแพลทินัม) ปีที่ 15 (ติดต่อกัน 15 ปีซ้อน) จาก กระทรวงแรงงาน
- รางวัล EIA Monitoring Awards ระดับยอดเยี่ยม ประจำปี 2567 จาก สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย ทชร. มุ่งมั่นบริหารจัดการท่าอากาศยานตามแนวทางการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี ดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้วิสัยทัศน์ “Moving Toward International Leading Eco – Airport” ตระหนักเรื่องการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด หรือทำให้อัตราการใช้พลังงานต่อหัวลดลง แต่สร้างคุณค่าได้มากขึ้น ในขณะที่องค์กรยังต้องการความก้าวหน้าทางธุรกิจ เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
- การรักษาสถานภาพระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ISO 45001 : 2018 จาก บริษัท ทูฟซูด (ประเทศไทย) จำกัด
- การรักษาสถานภาพระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ Business Continuity Management System : BCMS ตามมาตรฐานสากล จาก บริษัท ยูไนเต็ด รีจิสตร้า ออฟ ซิสเท็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
- มาตรฐาน Clean Food Good Test การได้รับการรับรองตามมาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในกาตรวจประเมินร้านอาหารและเครื่องดื่มภายใน ทชร. จากเทศบาลตำบลบ้านดู่, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ทชร.
ทชร. มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยหัวใจที่ตระหนักถึงความปลอดภัยและการให้บริการแก่ผู้โดยสารภายใต้หลักธรรมาภิบาล และการดำเนินงานที่โปร่งใสควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม รวมไปถึงเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนดำเนินการตามนโยบายที่สอดคล้องกับภาครัฐ ภาคเอกชน พร้อมให้ความร่วมมือในการส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว ภาคการศึกษา และเป็นพลังในการขับเคลื่อนในการผลักดันเศรษฐกิจควบคู่ไปกับจังหวัดเชียงราย เพื่อการพัฒนาที่มั่นคงและเติบโตอย่างยั่งยืน