วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ที่ห้องประชุมชั้น 1 หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นประธานในการแถลงข่าวเตรียมจัดงานประเพณีเทศน์มหาชาติ และพิธีพุทธาภิเษกพระเชียงแสนปรกโพธิ์ 5 พลังแผ่นดิน (ไทย ลาว จีน เมียนมา กัมพูชา) เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง 50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ระหว่างวันที่ 2-4 ธันวาคม 2566 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย” โดยมีผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ สื่อมวลชน เข้าร่วมอย่างคับคั่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวว่า งานประเพณีเทศน์มหาชาติ และพิธีพุทธาภิเษกพระเชียงแสนปรกโพธิ์ 5 พลังแผ่นดิน (ไทย ลาว จีน เมียนมา กัมพูชา) เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง 50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ครบรอบ 50 ปี สืบสานศิลปะและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นล้านนาของชาติ ให้ดำรงอยู่อย่างมั่นคงยั่งยืน โดยจัดสร้างมงคลอนุสรณ์ในฐานะพุทธศิลป์อันวิจิตรบรรจงน่าเลื่อมใส ให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า และเพื่อสร้างสายสัมพันธ์อันดีงาม ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กับกลุ่มประเทศ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ คล้ายสุวรรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประธานคณะกรรมการจัดกิจกรรม กล่าวว่า ภายในงานได้แบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม คือพิธีพุทธาภิเษกพระเชียงแสนปรกโพธิ์ 5 พลังแผ่นดิน (ไทย ลาว จีน เมียนมา กัมพูชา) รุ่นเสาร์ 5 สิงห์แสนล้าน โดยอาจารย์ทรงเดช ทิพย์ทอง ศิลปินเชียงราย ออกแบบองค์พระเป็นพุทธศิลป์พระเชียงแสนสิงห์ 3 ลักษณะปรกโพธิ์ ที่มีความสวยงามอ่อนช้อยตามแบบศิลปะล้านนาไทย จัดสร้างจำนวน 5 แบบ คือเนื้อเงินรมซาติน 99.99, เนื้อนวโลหะ, เนื้ออัลปาก้า, เนื้อทองแดงรมซาติน และเนื้อทองทิพย์ โดยจะมีพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 2 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 13.09 เป็นต้นไป ซึ่งทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้รับความเมตตานุเคราะห์จากพระมหาเถรานุเถระจาก 5 ประเทศ มาเจริญสมาธิอธิษฐานจิตแผ่เมตตาในการอบรมสมโภชพิธีพุทธาภิเษกพระเชียงแสนปรกโพธิ์ 5 พลังแผ่นดิน อาทิ พระพรหมมงคลวัชโรดม เจ้าอาวาสวัดจองคำ พระอารามหลวง จ.ลำปาง พระเทพมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดท่าตอน พระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ พระไพศาลประชาทร วิ. (พระอาจารย์พบโชค ติสสวํโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง จ.เชียงราย พระภาวนารัตนญาณ วิ. (ครูบาอริยชาติ) เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอนเรือง รัฐฉานตะวันออกพระอาทิตย์วิจิตรธรรมมุนี (จาต ตึด) นครพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา พระครูบาดวงแสง สิริวฑฺฒโณ เจ้าอาวาสวัดยางคำใหม่ สังฆนายกเมืองโก จ.เชียงตุง และพระครูบาชัยพร ศรีปัญญา วัดจอมเขามณีรัตน์ เมืองห้วยทราย สปป.ลาว
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายประธานคณะกรรมการจัดกิจกรรม กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของกิจกรรมที่สอง คือ กิจกรรมงานประเพณีเทศน์มหาชาติ 5 แผ่นดิน (ไทย ลาว จีน เมียนมา กัมพูชา) เป็นกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมกับองค์กรสงฆ์และพุทธศาสนิกสัมพันธ์ของทั้ง 5 ประเทศ มีพระภิกษุสงฆ์ได้เมตตานุเคราะห์มาร่วมเป็นองค์เทศน์ จำนวน 18 รูป ครบทั้ง 5 ประเทศ โดยมีองค์เทศน์ที่มีชื่อเสียง อาทิ ประเทศไทย กัณฑ์มัทรี (พระเทพรัตนายก เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัย เจ้าคณะจังหวัดลำพูน) กัณฑ์กุมารบรรพ์ (พระครูจันทสรการ เจ้าอาวาสวัดทุ่งหมื่นน้อย จ.เชียงใหม่) กัณฑ์มหาราช (พระครูสุจิตานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระบาทอุดม เจ้าคณะอำเภอฝาง) ประเทศลาว กัณฑ์จุลพน (พระอาจารย์ทองเพียร พันธิรัตน์ แขวงหลวงพระบาง) ประเทศจีน กัณฑ์หิมพานต์ (พระครูบาสุภาพ สุขปญฺโญ เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา) ประเทศเมียนมา กัณฑ์มัทรี (พระอาจารย์หลวงคำ สุจิตโต วัดราชฐานหลวงหัวกัณฑ์มัทรี (พระอาจารย์เพือน โอน ผู้ช่วยที่ปรึกษาสมเด็จบัวครี นครพนมเปญ) นอกจากนี้ ผู้ที่มีจิตศรัทธาได้รับเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์มหาชาติ 5 แผ่นดิน ครบทุกกัณฑ์ จำนวน 18 กัณฑ์ 18 องค์เทศน์ สำหรับเวลาเทศน์นั้น เริ่มเทศน์กัณฑ์สหัสสคาถา (คาถาพัน) ตั้งแต่เวลา 21.09 น. ในวันที่ 2 ธันวาคม พุทธศักราช 2566 เป็นต้นไป ถือว่าเป็นกัณฑ์แรกของประเพณีเทศน์มหาชาติ การเทศน์มหาชาติตามธรรมเนียมตั้งแต่โบราณกาล จะเทศน์ไม่หยุดจนกว่าจะจบกัณฑ์สุดท้าย คือ นครกัณฑ์ เวลา 06.30 น. ในวันที่ 4 ธันวาคม 2566
ขอบคุณ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย