โชติศิริ ดารายน นายกสมาคมสื่อมวลชนและนักประชาสัมพันธ์เชียงราย ร่วมในโอกาสที่ นาวาอากาศตรี ด็อกเตอร์ สมชนก เทียมเทียบรัตน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย จัดให้มีการทำบุญครบรอบการดำเนินงาน 25 ปีท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย และนำทีมงาน ประกอบด้วย ดร.สิทธิปัฐพ์ มงคลอภิบาลกุล, แสงเดือน อ้องแสงคำ รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ร่วมในการแถลงข่าว บทบาทของปีที่ 25 ของท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ต่อจังหวัดเชียงราย ศูนย์การเรียนรู้ด้านการบินของจังหวัดเชียงราย AVIATION EDUCATION CENTER
ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยหัวใจที่ตระหนักถึงความปลอดภัย และการให้บริการแก่ผู้โดยสารภายใต้หลักธรรมาภิบาล และการดำเนินงานที่โปร่งใสควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม และการเป็นพลเมืองที่ดีของชุมชน มากกว่า 25 ปี เพื่อสร้างคุณค่าร่วมกันกับสังคม และชุมชนโดยรอบให้ท่าบทบาทอากาศยานสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนต่อไป
ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย จะดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ที่มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและสุขภาพ Northern – Most Sustainable Regional Airport ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจภาคเหนือตอนบน พร้อมพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบินในอนาคตการจัดงานครบรอบการดำเนินงานฯ นี้ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจและเพื่อความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนบริษัทสายการบิน ผู้ประกอบการ รวมถึงหน่วยงานราชการที่ปฏิบัติงานภายใน ทชร. ในด้านผลการดำเนินงานและปริมาณการจราจรทางอากาศในภาพรวมรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา(ตุลาคม 2565 ถึง กันยายน 2566 โดยมีจำนวนเที่ยวบินเฉลี่ย 32 เที่ยวบิน /วัน มีจำนวนผู้โดยสาร 9,959 คน /วัน ดังนั้น มีจำนวนเที่ยวบินรวม 11,813 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 10 % สายการบินที่ให้บริการ จำนวน 5 สายการบิน ซึ่งทำการบินเส้นทางภายในประเทศทั้งหมด ประกอบด้วย
- สายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์ (WE) เส้นทางบิน สุวรรณภูมิ – เชียงราย – สุวรรณภูมิ จำนวน 3 เที่ยวบินต่อวัน
- สายการบินไทยเวียตเจ็ทแอร์ (V2) เส้นทางบิน สุวรรณภูมิ – เชียงราย – สุวรรณภูมิ จำนวน 3 เที่ยวบินต่อวัน และ เส้นทางบิน ภูเก็ต – เชียงราย – ภูเก็ต จำนวน 2 เที่ยวบินต่อวัน
- สายการบินไทยแอร์เอเชีย (FD) เส้นทางบิน ดอนเมือง – เชียงราย – ดอนเมือง จำนวน 4 เที่ยวบินต่อวัน
- สายการบินนกแอร์ (DD) เส้นทางบิน ดอนเมือง – เขียงราย – ตอนเมือง จำนวน 2 เที่ยวบินต่อวัน
- สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ (SL) เส้นทางบิน ตอนเมือง – เชียงราย – ดอนเมือง จำนวน 3 เที่ยวบินต่อวัน
ขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร ปัจจุบัน ทชร. สมารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 2 ล้านคนต่อปี มีผู้โดยสารและผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากส่งผลให้เกิดความแออัดในการให้บริการโดยเฉพาะในช่วงเวลาคับคั่ง ดังนั้น เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้นและเพิ่มความสะดวกสบายในการให้บริการผู้โดยสาร ทชร. ได้ดำเนินการตามแผนพัฒนาโดยเป็นโครงการก่อสร้างที่อยู่ในช่วงระยะที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2568 – 2571 ประกอบด้วย
- งานก่อสร้างระบบทางขับขนานด้านทิศเหนือและปรับปรุงทางขับท้ายหลุมจอด พร้อมทางขับ A และ B
- งานปรับปรุงพื้นที่หัวทางวิ่งด้าน 03 และ 21
- งานก่อสร้างขยายถนนทางเข้า – ออก ทชร.
- งานก่อสร้างอาคารรับรองบุคคลสำคัญ (VIP / VVIP)
- งานก่อสร้างอาคารสำนักงาน ทชร. และอาคารบำรุงรักษาทำอากาศยาน
ผลงานและชื่อเสียงให้กับ ทชร. และจังหวัดเขียงราย หลากหลายด้าน และหลากหลายโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว นั้น จะสานต่อเพื่อแสตงให้เห็นถึงศักยภาพของ ทชร. และจังหวัดเชียงรายในการใช้ “สนามบินเป็นกลไกลในการผลักตันเศรษฐกิจของจังหวัด”
- โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน Maintenance , Repair and Overhau : MRO ที่เป็นการร่วมมือกับ Aviation Industry Corporation of China (AVIC โดยอยู่ในกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
- โครงการขนส่งสินค้าทางอากาศ Air Cargo Hub
- การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย กับ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะทำงาน Asia/Pacific Aerodrome Assistance Design and Operations Task Force (AP-ADO/TF) ต่ออีกหนึ่งวาระจนถึงปี 2569
- โครงการ AOT- CE – CSR ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย สร้างอนาคตชวนน้องลงดอยมาเป็นช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน
การก้าวเข้าสู่ปีที่ 25 ของ ทชร. มีแผนดำเนินการเพื่อยกระดับการให้บริการและการเป็น Airport Commercial and industrial business plan ดังนี้
- โครงการระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ซึ่งเป็นหนึ่ง โครงการที่จะขับเคลื่อนท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ให้ก้าวสู่การเป็นสนามบินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Airport) โดยการนำไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ซึ่ง ทอท. ให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเดินทาง การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่นับเป็นหนึ่งในโครงการรักษ์โลกที่จะนำไปสู่แผนพัฒนาอุตสาหกรรมการบินอย่างยั่งยืน
- ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะใหม่ จาก สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (The Civil Aviation Authority of Thailand : CAAT) เนื่องจาก CAAT ได้ออกข้อกำหนด ฉบับที่ 14 ว่าด้วยมาตรฐานสนามบินซึ่งมีผลบังคับใช้ ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2562 และปรับปรุงกฎ ระเบียบ มาตรฐาน กระบวนการออกใบรับรองฯ ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับมาตรฐานและข้อแนะนำของ ICAO ดังนั้น CAAT จึงต้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะใหม่(Re-certification) ให้แก่ผู้ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะก่อนวันที่ข้อกำหนดของ CAAT ฉบับที่ 14 มีผลใช้บังคับใช้ ทชร, ได้ดำเนินการตามกระบวนการที่ระบุในประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง การรับรอง การดำเนินงานสนามบินสาธารณะใหม่ (Public Aerodrome Re-certifcation) พ.ศ. 2563 เรียบร้อยแล้ว และจะได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะใหม่ตามประกาศฯ ดังกล่าว ซึ่งได้ถึงมาตรฐานความปลอดภัยในการดำเนินงานของ ทชร. ต่อไป
- เข้าร่วม Airport Customer Experience Accreditation Program : โปรแกรมการรับรองประสบการณ์ของผู้ใช้บริการทำอากาศยาน ซึ่งเป็นโปรแกรมการรับรองเพียงโปรแกรมเดียวในอุตสาหกรรมสนามบิน 360 องศาของการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานเพื่อส่งมอบบริการที่ดียิ่งขึ้นให้กับท่าอากาศยานสมาชิก และให้มุมมองแบบ 360 องศาของผู้ใช้บริการทำาอากาศยาน อันจะช่วยให้ทำอากาศยานมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้บริการ
- การบริการทางการแพทย์เพื่อสุขภาพ WelIness โดยเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่าง ทำอากาศยาน /โรงพยาบาล รวมทั้งภาคธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย
เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการให้บริการ ทชร. ได้เข้าร่วมโครงการสำคัญกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา รวมถึงภาศธุรกิจอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จนทำได้รับรางวัลในการดำเนินงานซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจ ดังนี้
- ท่าอากาศยานดีเด่น ประจำปี 2566 ของ ทอท.
- สถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานประจำปี 2566 ระดับประเทศ (ระดับแพลทินัม) ปีที่ 14 ติดต่อกัน 14 ปีซ้อน
- สุขาสะอาดได้มาตรฐาน (HAS : Health Accessibility Safety) จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- มาตรฐาน Clean Food Good Test การได้รับการรับรองตามมาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในการตรวจประเมินร้านอาหารและเครื่องดื่มภายใน ทชร. จากเทศบาลตำบลบ้านดู่ /สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย