เสียงจาก…นายอินชัย อุ่นหน้อย สาธารณสุขอำเภอเทิง จ.เชียงราย ชวนชาวอำเภอเทิง “งดเหล้า บุหรี่ อบายมุข” เข้าพรรษามหามงคลสร้างสุขให้สังคม ตนเอง และครอบครัว” ตามโครงการบูรณาการรณรงค์งดเหล้า บุหรี่ เข้าพรรษาถึงออกพรรษา และลดความเสี่ยงจากโควิด ปี 2565
โดยโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ปี 2565 เป็นปีที่ 20 ของการณรงค์ เริ่มตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ใช้โอกาสรณรงค์ในงานเทศกาลที่ประชาชนชาวพุทธได้ลด ละ เลิกเหล้าและอบายมุขระหว่างพรรษาของศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นการใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดและตรงกับคำนิยมของสังคมไทย และต่อมาได้ถูกกำหนดให้ทุกวันเข้าพรรษาเป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญที่จะให้หน่วยงานราชการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ใช้โอกาสนี้เชิญชวนลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอบายมุขต่างๆ และเป็นโอกาสที่จะลด ละ เลิกไปตลอดโดยถือโอกาสเอาช่วงเข้าพรรษาเป็นจุดเริ่มต้น โดยปีนี้ะยะเวลาเข้าพรรษาระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ถึง 10 ตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นการรณรงค์ในภาวะเริ่มผ่อนคลายจากการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด แตกต่างจากการรณรงค์ในระหว่างปี 2563-2564 ที่อยู่ในภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด โดยทั้งสองครั้งที่ผ่านมาการดำเนินการในกิจกรรมทำได้จำกัด แต่ในครั้งนี้จะมีกิจกรรมในพื้นที่ที่สามารถดำเนินการใกล้เคียงกับสถานการณ์ในอดีตอีกทั้ง ในสภาวะที่สภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดี มีคนตกงาน ครอบครัวมีรายได้น้อยลง มีหนี้สินมากขึ้น ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้เกิดภาวะความเครียดมากขึ้น ดังนั้น ในภาวะนี้พลังของครอบครัวที่จะต้องให้กำลังใจกันและกันและต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้สามารถสู้วิกฤตในภาวะนี้
ซึ่งจากผลสำรวจของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) หลังจากเทศกาลเข้าพรรษาปี 2564 ที่ผ่านมา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ได้จากการสุ่มใน 12 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาค ในระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2564 รวมจำนวน 3,916 ตัวอย่างพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 70. 7 หรือประมาณการ 38,398,689 คน พบเห็น/รับรู้ถึงสื่อประชาสัมพันธ์ “งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2564” ส่วนใหญ่รับรู้จากโฆษณาทางโทรทัศน์ รองลงมาคือ โซเชียลมีเดียเฉพาะกลุ่มที่พบเห็น รับรู้สื่อทางโทรทัศน์ พบว่าร้อยละ 80.3 เคยเห็นโฆษณาชุด “สื่อรักให้พักเหล้า” โดย ร้อยละ 89.2 เห็นว่าสื่อมีผลต่อการสร้างความตระหนักในการลด ละ เลิกการดื่มได้ในระดับ ต่างๆ ทั้งนี้ พบร้อยละ 43.9 เคยบอกต่อหรือแชร์ข้อความบน Social Network เพื่อชักชวนคนรอบข้างให้งดเหล้าเข้าพรรษา แต่ที่น่าพิจารณาคือ พบเพียงร้อยละ 7.7 ที่ได้ร่วมลงนาม/ ปฏิญาณตนงดเหล้า ลดลงร้อยละ 2.6 จึงเป็นที่มาของกิจกรรมดังกล่าว