- ความหมายของ “คนแก่” จากการสัมภาษณ์ประชากรตัวอย่างทั้งหมด ผู้สูงอายุได้อธิบายความหมายของคนแก่ “คนแก่” สามารถจำแนกได้ออกเป็น 6 กลุ่ม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
แสดงความหมายของคำว่า “คนแก่”
- ร่างกายไม่แข็งแรง ทำงานไม่ไหว ไปไหนมาไหนไม่ได้ หลงลืม
- มีความหมายคล้ายกับผู้สูงอายุและคนชรา
- ทำงานได้บ้างเล็กน้อยแต่ไม่คล่องตัว
- ไปไหนมาไหนได้ ทำงานได้
- เริ่มทำอะไรไม่ค่อยไหว
- มีความแก่มากกว่าผู้สูงอายุ
การขอให้ผู้ที่เป็นตัวอย่าง อธิบายและให้ความหายคำว่า “คนแก่” ส่วนใหญ่จะเน้น “คนแก่” เพราะปัญหาด้านสุขภาพ ความแข็งแรงของร่างกาย การเคลื่อนไหวและความทรงจำเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดได้ตอบในประเด็นนี้ โดยให้เหตุผลและคำอธิบายดังนี้
- “คนแก่” มีความหมายเหมือนผู้สูงอายุ แต่จะเป็นผู้ที่มีอายุมากว่าผู้สูงอายุ ร่างกายจะทรุดโทรมมากว่า มีโรคประจำตัวและเจ็บป่วยบ่อยเนื่องจากสุขภาพร่างกายอ่อนแอ เสื่อมโทรม ทำอะไรไม่ไหว
- “คนแก่” ทำงานได้บ้าง แต่ช้าไม่คล่องแคล่ว
- “คนแก่” มีความจำไม่ดี ขี้หลงขี้ลืม ส่วนมากจะมีอายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นโรคนอนไม่หลับ คิดอะไรไม่ค่อยเป็นเรื่องเป็นราว
- “คนแก่” เป็นผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ต้องให้คนอื่นเลี้ยงดู ทำอะไรด้วยตนเองไม่ได้
- “คนแก่” เป็นวันที่มีโรคภัยเข้ามาเบียดเบียนได้ง่ายทำงานหนักไม่ได้ ผู้หญิงจะแข็งแรงมากกว่าผู้ชายเพราะตอนหนุ่มๆ ผู้ชายทำงานมากกว่าผู้หญิงร่างกายจึงทรุดโทรมมากกว่าผู้หญิง
- “คนแก่” เป็นผู้รับภาระทางครอบครัวแทนคนหนุ่มคนสาวคนแก่จะรับหน้าที่เฝ้าบ้าน เลี้ยงหลานแทนเพราะทำงานในไร่นาไม่ได้
- “คนแก่” ควรจะมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป เพราะคนที่อายุ 60 ปี ยังสามารถทำอะไรๆ ได้ เหมือนคนหนุ่มสาว แต่พออายุ 70 ปี แล้วร่างกายจะแย่ลง
ผู้ที่เป็นตัวอย่างกลุ่มที่ 2 ได้ให้เหตุผลต่อคำว่า “คนแก่” มีความหมายเช่นเดียวกับคนชราและผู้สูงอายุ แต่คำว่า “คนแก่” จะเป็นคำที่ไม่ค่อยสุภาพเปรียบเสมือนการตีตรา (stigma) ให้บุคคลที่มีอายุมาก เป็นคำแรงกว่าคำว่า “ผู้สูงอายุ” ในทางตางกันข้าม มีผู้ตอบหลายคนที่ชอบจะให้เรียวกว่า “คนแก่” เพราะเป็นภาษาพื้นๆ ที่เข้าได้ดีกว่าคำว่า “ผู้สูงอายุ” โดยให้เหตุผลว่า คำว่า “ผู้สูงอายุ” เป็นคำที่กำกวม เพราะอายุของคนคนจะต้องสูงขึ้นๆ การที่จะกำหนดว่าเป็นผู้สูงอายุจึงไม่ชัดเจนว่าอายุเท่าใดเรียกว่า “ผู้สูงอายุ” ดังนั้นจึงมักจะอิงตามคำที่ใช้ในราชการและคำทั่วๆไป ที่ต้องการให้เป็นคำสุภาพและไม่เป็นการดูถูกคนแก่ จึงเลี่ยงไปใช้คำว่า “ผู้สูงอายุ” ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงมีแนวคิดเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า คนแก่ ผู้สูงอายุและคนชรา ไม่มีความแตกต่างกัน
สำหรับผู้ที่ให้เหตุผลอื่นๆ นอกเหนือไปจากนี้พบว่า คำว่า “คนแก่” เป็นคำที่ฟังแล้วไม่ไพเราะ แต่มีความชัดเจนในความหมายคือคำว่า “แก่” ซึ่งจะหมายถึงอายุของสังขาร ร่ายไม่แข็งแรง ทำอะไรไม่ได้ ความจำไม่ดี สภาพร่างกายเปลี่ยนแปลงไป เช่น ผมหงอก ฟันหัก ผิวหนังเหี่ยวย่น ในความหมายต่อมาที่ไม่เกี่ยวกับสภาพร่างกายคือ “คนแก่” หมายถึง ผู้ที่ไม่มีบทบาททางสังคม ทางราชการกำหนดให้ออกจากงานราชการ ถ้าเป็นชาวบ้านจะได้รับบัตรผู้สูงอายุ หรือบัตรคนแก่ บางคนยังมีสุขภาพดีแต่ถูกกำหนดให้เป็นผู้สูงอายุ หรือเป็นคนแก่ทั้งๆ ที่บางคนยังคงทำงานได้เป็นปกติดี
ดังนั้นผู้ตอบหลายคนได้ให้ความหมายต่อคำว่า “คนแก่” ว่าควรเรียกบุคคลทีมีอายุ 70 ปีขึ้นไป ไม่ควรจัดผู้ท่ามีอายุ 60-70 ปีเป็นคนแก่ เพราะสุขภาพร่างกายบางคนยังแข็งแรง และทำงานได้ตามปกติ
- ความหมายของ “คนชรา” คำว่า “คนชรา” เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีแต่ก็มีการใช้คำนี้ อย่างกว้างขวางเช่นคำว่า วัยชรา ชราภาพ ชราวัย แก่ชรา และเฒ่าชะแลแก่ชราเป็นต้น จากการศึกษาครั้งนี้ มีผู้ให้คำอธิบายถึงความหมายของคำว่า “คนชรา” โดยสามารถจัดกลุ่มความหมายออกเป็น 6 กลุ่ม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
แสดงความหายของคำว่า “คนชรา”
- แก่หง่อม ทำอะไรไม่ไหว ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องให้คนอื่นช่วยดูแล
- มีความหมายคล้ายกับผู้สูงอายุและคนแก่
- สุขภาพไม่ดี หลงลืม ทำอะไรไม่ได้
- เป็นผู้ที่มีอายุสูงกว่า “ผู้สูงอายุ” และ “คนแก่”
- สุขภาพไม่ดี ไปไหนไม่ได้
ผลจากการรวบรวมคำตอบของความหมายทั้งหมด เกือบครึ่งสะท้อนให้เห็นความคิดสอดคล้องกันว่า “คนชรา” เป็นผู้สูงอายุเป็นคนแก่ อายุมากที่สุด เป็นช่วงสุดท้ายของการมีชีวิต เหตุผลต่างๆ สรุปได้ดังนี้
- “คนชรา” หมายถึง “คนแก่หง่อม” แก่มาก ทำงานไม่ได้ ต้องมีคนคอยดูแล ส่วนส่วนใหญ่จะลุกเดินไปไหนมาไหนไม่ได้ ต้องพึ่งพิงผู้อื้นตลอดเวลา ไม่ว่าเป็นเรื่องอาหารการกิน การขับถ่ายและการใช้ชีวิตประจำวัน
- “คนชรา” หมายถึงผู้ที่มีอายุ 80 – 90 ปี ทำอะไรด้วยตนเองไม่ได้ ไม่มีเรี่ยวแรงบางคนต้องคลานเดินไม่ได้ จดจำอะไรไม่ได้
- “คนชรา” หมายถึง ไม้ใกล้ฝั่งนั่งกอดเข่าอยู่เฉยๆ มีชีวิต อยู่ไปวันๆ โดยไม่ได้ทำอะไร เหมือนผู้ที่รอวันตาย
- “คนชรา” เป็นผู้ที่มีจิตใจท้อแท้ ต้องอาศัยผู้อื่นป้อนข้าว ป้อนน้ำ เป็นภาระของผู้อื่น
สำหรับผู้ที่ตอบเหตุผลอื่นๆ คือมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าผู้สูงอายุ และคนแก่นอกเหนือจากนี้ได้ให้ความหมาย “คนชรา” ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกาย เป็นผู้เจ็บป่วยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง ต้องใช้ไม้เท้า บางคนจะเคลื่อนไหวไม่ได้เลย นอกจากนี้ยังมีสติฟั่นเฟือน หลงลืมง่าย หรือบางคนสูญเสียความทรงจำ ปัจจุบัน “คนชรา” มีจำนวนน้อยลงเพราะส่วนใหญ่จะตายไปเสียตั้งแต่เป็น “ผู้สูงอายุ” และเป็น “คนแก่” จากการศึกษาถึงคำอธิบายในความหมายของคำว่า “คนชรา” ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในภาษาเขียนมากกว่าจะเป็นภาษาพูด แต่ผู้ที่ตอบส่วนใหญ่ก็เข้าใจและให้ความหมายไปในทิศทางเดียวกันก็คือเป็นการเรียกผู้ที่มีอายุมากระดับที่สูงสุด แม้จะมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “ผู้สูงอายุ” หรือ “คนแก่” ดังนั้นคำว่า “คนชรา” ต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่าคือกลุ่มผู้สูงอายุ หรือ คนแก่ที่มีอายุมาก ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งพิงครอบครัวผู้ที่เป็นตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ต่างได้ให้ความเห็นว่า “ผู้สูงอายุ” คือกลุ่มผู้ที่มีอายุระหว่าง 55 ปีขึ้นไป ส่วน “คนแก่” จะเริ่มตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปและ “คนชรา” คือผู้ทีมีอายุ 80 ปีขึ้นไป
- ความแตกต่างระหว่างคนหนุ่มสาวกับผู้สูงอายุ ในส่วนสุดท้ายของข้อคำถามเกี่ยวกับการรับรู้การเป็นผู้สูงอายุคนแก่ และคนชรา คณะผู้วิจัยได้ตั้งคำถามเพื่อให้ผู้ที่เป็นตัวอย่างการศึกษาครั้งนี้อายุ ข้อมูลที่ได้จากการถามแบบลึก ได้คำตอบมากว่า 200 คำตอบ สามารถสรุปเหตุผลหรือปัจจัยที่ผู้ตอบได้สะท้อนให้ความคิด ความรู้สึก และข้อเท็จจริงที่ประสบจากชีวิตจริง ระหว่างการเป็นคนหนุ่มสาวกับการเป็นผู้สูงอายุ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
แสดงความแตกต่างระหว่างคนหนุ่มสาวกับผู้สูงอายุ
ข้อแตกต่าง คนหนุ่มสาว ผู้สูงอายุ
สภาพร่างกาย แข็งแรง อ่อนแอ
คล่องแคล่ว งุ่มง่าม
หูตาดี หูตึง ตาฝ้าฝาง
สุขภาพแข็งแรง ผมหงอก ผิวหนังเหี่ยวย่น
กระฉับกระเฉง ทำงานไม่ได้ร่างกายไม่อำนวย
ไม่มีโรคภัย สุขภาพไม่ดี กินอาหารลำบาก
สภาพจิตใจ ความคิดอ่านดี คิดช้าตัดสินใจช้า
ความจำดี เลอะเลือน หลงลืมง่าย
จิตใจร่าเริงเบิกบาน จิตใจถดถอย ท้อแท้
มีมานะอดทน นอนไม่หลับ
มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่อยากทำอะไรเบื่อหน่ายชีวิต
มีความหวัง ต้องพึ่งพิงผู้อื่นอ่อนเพลีย
พละกำลัง มีเรี่ยวแรงมาก มีแรงน้อย ทำงานได้น้อย
ทำงานไม่เหนื่อยอ่อน ทำงานหนักไม่ได้เหนื่อยง่าย
เดินเหินคล่องแคล่ว เดินทางไปไหนมาไหนลำบาก
ขยันขันแข็ง เหมือนคนขี้เกียจ
เดินทางท่องเที่ยวไปได้ เฝ้าบ้าน อยู่แต่ในบ้าน
ทำงานหนักได้ ขึ้นที่สูงๆ ไม่ได้
ทำงานตรากตรำไม่ได้
อายุขัย น้อย มากขึ้นๆ