ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่าผู้ที่เป็นตัวอย่างส่วนใหญ่ยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ มีเพียงส่วนน้อยที่ไม่ยอมรับว่าเป็นผู้สูงอายุ ที่ยอมรับว่าเป็นผู้สูงอายุได้ให้เหตุผลดังนี้
กลุ่มแรก ยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ เพราะสังเกตและประเมินจากสุขภาพตัวเองเป็นสำคัญ ยอมรับความบกพร่องของร่างกายและปัญหาสุขภาพโดยได้ยกย่องภาวะความเจ็บป่วยที่สำคัญๆ คือ ปวดเมื่อยตามแขน ขา ไหล่ เข่า ปวดหลัง ปวดข้อ เวลาเดินทางไปไหนมาไหนรู้สึกเหนื่อยง่าย เดินไปไม่ไกลมีความอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง และเป็นลมหน้ามืดบ่อย
นอกจากนี้ ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ตอบว่าตามัวมองอะไรไม่ค่อยเห็น หูไม่ค่อยได้ยินเวลาใครพูดต้องใช้มือป้องหู และบางครั้งก็ได้ยินอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆ ไปนั้นผู้สูงอายุกล่าวว่า การที่ฟันหลุด ผมหงอก ผิวหนังเหี่ยวย่น เป็นสัญญาณที่บ่งบอกความชราภาพ และตนเองก็ยอมรับในประเด็นนอกจากนี้ยังได้ให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า การที่ทำงานไม่ได้เหมือนปกติในวัยหนุ่มสาว เป็นสาเหตุหนึ่งที่ยอมรับว่าการเป็นผู้สูงอายุ เพราะพละกำลังได้ถดถอยลง และเหตุผลสุดท้ายยอมรับว่าเป็นเหตุผลอันเนื่องมาจากสุขภาพก็เพราะการที่มีโรคประจำซึ่งไม่ค่อยจะพบในคนวัยหนุ่มสาว แต่เมื่อมีอายุมากขึ้นและเป็นผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่หรือแทบทุกคนจะต้องมีโรคใดโรคหนึ่ง
กลุ่มที่สอง ยอมรับว่าเป็นผู้สูงอายุ แต่ไม่เช่นเหตุผลอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ยอมรับในกฎเกณฑ์ทางสังคม เพราะมีหนังสือจากราชการประกาศวาผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี จัดให้เป็นผู้สูงอายุจึงยอมรับว่า ตนเองเป็นผู้สูงอายุ สำหรับบางคนได้ยกตัวอย่างว่าเพราะตนเองได้ถูกปลดออกจากทางราชการ สำหรับผู้ที่มิได้ประกอบอาชีพราชการหรือต้องหยุดการจ้างจากนายจ้างเพราะเกณฑ์อายุ 60 ปี ได้ให้เหตุผลที่ยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายก็เพราะลูกหลานเรียกตาหรือยาย ซึ่งเป็นตำแหน่งทางสังคมที่ผู้ที่มีอายุน้อยจะเรียกผู้ที่มีอายุมากทุกคนเมื่อเป็นเด็กเมื่อเห็นคนสูงอายุรุ่นราวคราวพ่อ แม่ หรือ สูงกว่าจะเรียก ปู่ ย่า ตา ยาย แม้จะไม่ใช่เป็นญาติเกี่ยวดองกันก็ตาม เมื่อทราบเช่นนี้จึงเกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ
กลุ่มสาม ยอมรับว่าเป็นผู้สูงอายุ แต่ไม่ยอมหยุดทำงานที่เคยทำมาก่อน กลุ่มผู้สูงอายุที่ตอบเช่นนี้เป็นกลุ่มที่ยอมรับว่า เมื่อคนทั่วไปเพเห็นตนเองหรือผู้ที่รู้จักต่างจะมองและเรียกว่าเป็นผู้สูงอายุ โดยความเป็นจริงของสังขารร่างกาย ยอมรับว่าเป็นผู้สูงอายุแต่มิได้หมายความว่า ผู้สูงอายุจะทำอะไรไม่ได้โดยความเป็นจริงแล้วแม้ว่าจะมีอายุเกิน 60 ปี แต่ก็ยังมีความรู้สึกและมีความสามารถทำหน้าที่การงานได้อย่างปกติ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง มีผิวหนังเหี่ยวย่น แต่สภาพจิดใจยังคงเหมือนเดิมและตระหนักดีว่ายังไม่แก่จนทำอะไรไม่ได้ ผู้สูงอายได้ให้เหตุผลที่คล้ายคลึงกัน โดยยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุแต่ มิได้หมายถึง แก่ชรา ทั้งนี้ก็เพราะยังเป็นผู้ที่มีเรี่ยวแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังคงมีจิตใจที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะผู้มี่มีอายุเกิน 60 ปี ขึ้นไปตอนต้นๆ รวมทั้งผู้สูงอายุบางคนที่มีอายุถึง 70 ปี หากมีสุขภาพ ร่างกายจิตใจปกติก็ยังคงต้องการมีบทบาททางสังคม เศรษฐกิจ และ ทำมาหากินต่อไป
กลุ่มที่สี่ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ได้แสดงความคิดเห็นและสาเหตุที่หลากลาย แต่ทั้งหมดก็ยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ ดังตัวอย่างที่ผู้สูงอายุได้อธิบาย ดังนี้
- เริ่มมีความผิดปกติเมื่อปีที่แล้วขณะที่อายุ 73 ปี เพราะทำงานได้ไม่เหมือนปกติ
- มีความรู้สึกว่าเป็นผู้สูงอายุเมื่อ อายุ 70 ปี เพราะก่อนหน้านั้นสามารถทำงานโดยไม่เหน็ดเหนื่อย แต่ปัจจุบันรู้สึกเหนื่อยง่าย เดินไปไหนไกลๆ ไม่ ปัจจุบันอายุ 73 ปี
- ไม่คิดว่าคนที่อายุ 60 ปีจะเป็นผู้สูงอายุ แม้ปัจจุบันจะมีอายุ 65 ปีแล้ว ก็ยังทำงานได้ ผู้ที่ทำงานไม่ได้เต็มที่จึงควรจะเรียกว่าผู้สูงอายุ
- เริ่มมีความรู้สึกว่าเป็นผู้สูงอายุ เพราะตามองไม่ค่อยเห็น วิงเวียนศีรษะ ทำงานหนักไม่ได้ รู้สึกเหน็ดเหนื่อยบ่อยๆ เริ่มมีอาการเช่นนี้ เมื่ออายุ 74 ปี
- เริ่มมีความรู้สึกว่าเป็นผู้สูงอายุ เพราะผิวหนังเหี่ยวย่นผมหงอกฟันหลอเมื่อตอนที่มีอายุ 63 ปี
- คิดว่าเป็นผู้สูงอายุเพราะสุขภาพไม่ดี ไม่ต้องมีอายุถึง 60 ปีตามเกณฑ์ก็เป็นผู้สูงอายุได้ เพราะคนอื่นๆ รุ่นเดียวกันยังดูแข็งแรงกว่า
กลุ่มที่ห้า เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ แม้จะมีหลักฐานชัดเจนเป็นผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ซึ่งเกณฑ์สากลที่ประกาศโดยองค์การอนามัยโลกและในระบบราชการก็ยอมรับและใช้เป็นมาตรฐานว่าผู้ทีมีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ต้องเกษียณอายุจากภาระหน้าที่การงาน หรือถูกปลดจากตำแหน่งการปฏิบัติงานประจำเพื่อรับบำนาญหรือเบี้ยหวัด มาตรฐานกำหนดอายุ 60 ปี จึงเปรียบเสมียนเกณฑ์กลางที่ได้กำหนดสถานภาพทางสังคมของผู้สูงอายุ
ในการศึกษาครั้งนี้ อธิบายได้ว่าผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งได้แสดงความคิดเห็นและประเมินตนเองต่อคำถามว่าเป็นผู้สูงอายุหรือไม่ดังตัวอย่าง
- ไม่คิดว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุแม้จะมีอายุเกิน 60 ปี เพราะกายยังแข็งแรง ทำงานได้ตามปกติเหมือนเดิมทุกอย่าง
- ไม่คิดว่าตนเองเป็นผู้อายุแม้จะมีอายุ 73 ปี เพราะยังคงรับผิดชอบต่อครอบครัว สามารถทำงานได้เช่นเดียวกับคนหนุ่ม คิดว่าผู้สูงอายุควรจะต้องเป็นผู้ทีมีอายุ 80 ปีขึ้นไป
- ไม่คิดว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ เพราะมีสุขภาพดี ไม่มีโรคร่างกายแข็งแรง และมีความจำดีไม่หลงลืม
สำหรับอายุเริ่มตันทองการเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งได้ถามว่า “ท่านคิดว่าท่านเป็นผู้สูงอายุหรือยัง และท่านคิดว่าเริ่มเป็นผู้สูงอายุเมื่อใด” ดังที่ได้แบ่งกลุ่มตอบออก เป็น 5 กลุ่ม ใหญ่ๆ ข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า
- ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยอมรับว่าตนเป็นผู้สูงอายุเนื่องจากสถานะสุขภาพเสื่อมโทรม โดยให้เหตุผลว่าเมื่อสมัยหนุ่มสาวทำงานหนัก พออายุเกิน 50 ปีขึ้นไป สุขภาพร่างกายจะอ่อนแอและเสื่อมโทรมโดยเร็ว ภาวะความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น จึงเป็นตัวแปรหรือดัชนีให้เห็นถึงอาการของการเป็นผู้สูงอายุ
มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่เห็นว่าพอมีอายุใกล้ 60 ปี หรือ สูงกว่าเล็กน้อย ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เวลาจะทำอะไรไม่รู้ปวดเมื่อย จะหิ้วจะหอบข้าวของแทบไม่ไหว ต้องหยุดทำงานหนักๆ จนสมาชิกในครอบครัวบางครอบครัวขอร้องให้ผู้สูอายุยอมรับว่าจนเองเป็นสู้อายุก็คือ มีความเจ็บปวดตามข้อ เมื่อยแข้งขา เวลาลุกนั่ง เดินไปไหนมาไหนไม่สะดวก เมื่อพยายามฝืนก็จะทำให้เจ็บปวดและมักจะเป็นลม เพราะร่างกายอ่อนแอ ดังที่ผู้สูงอายุให้เหตุผลว่าเป็นการ “แพ้สังขาร” เพราะว่าร่างกายเสื่อมสภาพลง ตั้งแต่ที่มีอายุ 60 ปี เป็นต้นมา นอกจากนี้ผู้สูงอายหลายคนได้แบ่งอายุการเป็นคนเท่า กับ 100 ปี และเชื่อว่าจะเริ่มเป็นผู้สูงอายุเมื่อ 50 ปีขึ้นไป และคิดว่าคนที่มีอายุตั้งแต่วัยนี้จะมีอาการของความชรา ทำงานได้ไม่เต็มที่ เหนื่อยง่าย หมดแรงเร็ว จิตใจไม่ปกติ หงุดหงิดง่าย และไม่ค่อยมีกำลังใจ
สำหรับผู้สูงอายุอีกกลุ่มหนึ่งที่ยอมรับว่าตนเองเริ่มเป็นผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากสุขภาพ มิใช่เกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ผมหงอก ผิวหนังเหี่ยวย่น หูไม่ได้ยิน ตามัยหรือขี้หลงขี้ลืม โดยกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มนี้ได้ให้เหตุผลว่าที่ตนเองประเมินตัวเองเป็นผู้สูงอายุ เพราะมีโรคประจำตัว ได้แก่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง วัณโรค โรคหัวใจ โรคระบบประสาท ผู้สูงอายุบางคนเริ่มยอมรับสภาพการเป็นผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุ 40-50 ปี เพราะมีสาเหตุอันเนื่องมาจากการเป็นโรคประจำตัว
- ผู้ที่ยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากกฎเกณฑ์ทางสังคม ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ได้ให้เหตุผล อันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพแต่จะให้เหตุผลว่า เพราะเกษียณอายุราชการถูกสังคมให้ละเว้นจากหน้า ที่การงานจึงมีความรู้สึกว่าเป็นผู้สูงอายุ นอกจากนี้บางคนกล่าวว่าเพราะได้รับบัตรสงเคราะห์หรือบัตรสูงอายุ จึงทำให้คิดว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ แต่เมื่อสอบถามถึงเหตุผลได้ให้คำตอบว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ เพราะอายุเกิน 60 ปี ตามที่ราชการกำหนดแต่มีความรู้สึกคือจิตใจยังไม่แก่เพราะสุขภาพยังดี ทำงานได้ทุกอย่างแม้จะมีอายุ 69 ปีแล้วก็ตาม
ผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่าเข้าใจสภาพที่เป็นปัจจุบันคือขณะนี้มิได้ทำงาน เพราะลูกหลานไม่ต้องการให้ทำงานในไร่นาหรือทำอะไรที่ต้องใช้แรงงานให้อยู่แต่ในงาน จึงเข้าใจตนเองเป็นผู้สูงอายุ เพราะคนอื่นต้องการให้ตนเองเป็น
- กลุ่มที่สามเป็นผู้ที่ยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ แต่ไม่ยอม เลิกจากการทำงานโดยถือว่าผู้สูงอายุก็ทำงานได้ดี และการทำงานจะทำให้ไม่เบื่อไม่คิดว่าเป็นการเป็นผู้สูงอายุ 60 ปี จะต้องเป็นคนแก่เสมอไป บางคนอายุไม่ถึง 60 ปี ก็เป็นคนแก่ได้เพราะทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นคนจะแก่หรือไม่ จะไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนของอายุขัย โดยผู้สูงอายุได้ให้เหตุผลตรงกันว่า การเป็นผู้สูงอายุไม่ใช่อุปสรรคในการทำงาน ถ้าใครมีสุขภาพดี ก็ทำงานได้เหมืนคนหนุ่มสาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน
- กลุ่มที่สี่เป็นกลุ่มที่ยอมรับว่าเป็นผู้สูงอายยุโดยเชื่อว่าเป็นการผู้สูงอายุจะมีสาเหตุประกอบกันหลายๆ ด้าน กลุ่มที่ได้ประเมินตนเองเช่นนี้บ้างคนไม่ได้เหตุผลประกอบกันหลายๆ ด้าน กลุ่มที่ได้ประเมินตนเองเช่นนี้บางคนไม่ได้ให้เหตุผลเพียงแค่ยืนยันว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ให้เหตุผลใกล้เคียงกันคือ “ความสามารถในการทำงาน” เป็นดัชนีบ่งบอกความเป็นผู้สูงอายุที่สามารถทำงานต่อไป อาจยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุแต่ไม่ยอมละบทบาททางสังคม โดยเชื่อว่าแม้จะมีกฎเกณฑ์ทางสังคมให้บุคคลเป็นผู้สูงอายุเมื่ออายุ 60 ปี แต่ก็ไม่จริงเสมอไป เพราะบางคนอายุมากว่า 60 ปี 70 ปี ก็ยังคงทำงานได้เหมือนคนหนุ่มสาว การใช้เกณฑ์จำนวนจึงใช้ไม่ได้ ผู้สูงอายุโดยความเป็นจริงต้องทำงานไม่ได้ ดังนั้นจึงมีผู้ตอบบางคนยืนยันว่าตนจะเป็นผู้สูงอายุเมื่อมีอายุ 80 ปี
- ความหมายของคำว่า “ผู้สูงอายุ” “คนแก่” และ “คนชรา”
แนวคิดพื้นฐานที่ตั้งคำถามนี้ เนื่องจากปัจจุบันได้มีการใช้คำเรียกผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี ขึ้นไปหลายคำซึ่งคำเรียกต่างๆ เหล่านั้นเป็นคำเรียกที่ถูกกำหนดทั้งทางราบการ ทางการแพทย์ และกำหนดโดยสังคม อันมีลักษณะเป็นการเรียก (named) หรือกำหนด (identified) บุคคลที่มีอายุมาก ผมหงอก ฟันหลอ ผิวหนังเหี่ยวย่น ที่แสดงถึงวัยที่สูงกว่าคนหนุ่มสาว
ดังนั้น การสอบถามผู้ที่เป็นตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ทีมีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปได้ สะท้อนแนวคิดความเข้าใจและประเมินตนเองว่ามีความคิดเห็นมีทัศนคติอย่างไรต่อความหมายที่คณะผู้วิจัยได้กำหนดเรียก 3 คำ คือ “ผู้สูงอายุ” “คนแก่” และ “คนชรา” ในการตอบครั้งนี้ผู้ที่เป็นตัวเองทั้งหมดสามารถตอบได้อย่างอิสระตามความคิดความเชื่อและการรับรู้ของตนเอง
- ความหมายของ “ผู้สูงอายุ” ผลจากการทดสอบถามประชากรตัวอย่างทั้งหมด 88 คน มีผู้ตอบคำถามนี้ 69 คน เป็นหญิง 49 คน และ ชาย 20 คน สามารถจัดกลุ่มความหมายของคำว่า “ผู้สูงอายุ” ได้อย่างหลากหลาย บางความหมายมีเหตุผลตรงข้ามกันแต่ส่วนใหญ่จะมีทิศทางเดียวกัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
แสดงความหมายของคำว่า “ผู้สูงอายุ”
- ยังไม่แก่มาก ทำงานได้ ไปไหนมาไหนได้ มีสุขภาพแข็งแรง
- มีความหมายคล้ายคนแก่และคนชรา
- เป็นไปตามเกณฑ์ที่ราชาการกำหนดอายุที่ 60 ปี
- ร่างกายไม่แข็งแรง ทำงานไม่ได้
- แก่มากจนทำอะไรไม่ได้
- เป็นผู้ทีมีอายุน้อยกว่าคนแก่และคนชรา
- ไม่ทราบความหมาย
ประชากรตัวอย่างที่ได้ให้ความหมายต่อคำว่า “ผู้สูงอายุ” กลุ่มแรกได้ให้ความหมายว่า คำว่าผู้สูงอายุ คือผู้ที่ยังไม่แก่มาก ยังคงทำงานได้อย่างปกติ สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง กลุ่มที่ให้เหตุผลในทำนองเดียวกันนี้มีเพียงหนึ่งในสี่โดยได้ให้เหตุผลเชิงบวกว่าผู้สูงอายุยังเป็นผู้ทีมีความสามารถดังเหตุผลต่อไปนี้
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ยังเป็นผู้ที่มีความสามารถทั้งทางร่างกายและจิตใจ ควรจะเรียกว่าผู้สูงอายุเมื่อมีอายุ 70 ปีขึ้นปี เพราะเป็นช่วงที่ทำงานไม่ไหวแล้ว
- ไม่ควรเรียกผู้ที่มีอายุ 60 ปีเป็นผู้สูงอายุเพราะผู้สูงอายุจะต้องเป็นผู้ที่ทำงานไม่ไหว ผู้ที่มีอายุ 60 ปี บางคนมีความสามารถไม่แตกต่างจากคนที่อายุ 50 ปี เพราะยังทำงานได้ปกติ อายุเป็นเพียงตัวเลขเท่านั้น
- “ผู้สูงอายุ” เป็นคำดีที่ให้เกียรติกับคนที่มีอายุมากแต่ยังไม่แก่จริงเพราะยังมีสุขภาพแข็งแรง ทำงานได้ตามปกติและสามารถเดินทางไปที่ต่างๆได้
- “ผู้สูงอายุ” อาจนับตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะมีอายุมากขึ้นแต่มิได้หมายถึงผู้ที่ไม่มีสามารถ ยังคงทำงานได้บ้างขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละคน
- เห็นด้วยที่จะเรียกคนอายุ 60 ปี เป็นผู้สูงอายุ แต่มิได้หมายถึงการเป็นคนแก่หรือคนชรา เพราะคนแก่หรือคนชรา เป็นผู้ทำอะไรไม่ได้ ส่วนผู้สูงอายุยังเป็นผู้ทีทำประโยชน์ได้ เพราะคนที่มีอายุ 60 ปี อาจมีความสามารถเดียวกับผู้ที่มีอายุ 50 ปี ทั้งสภาพร่างกาและจิตใจ
กลุ่มที่ให้ความคิดเห็นว่าผู้สูงอายุ คนแก่ และคนชรา มีความหมายคล้ายคลึงกันได้ให้เหตุผลคือ
- เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปตามที่รัฐกำหนด ผู้สูงอายุและคนชรามีความหมายเหมือนกันแต่ชอบคำว่าผู้สูงอายุ เพราะมีความหมายดี
- เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกันคือเกี่ยวข้องกับการมีอายุมากขึ้นทำงานน้อยลง และความจำไม่ดี
- มีความหมายเหมือนกันแต่คำว่า “ผู้สูงอายุ” เป็นคำสุภาพ ดีกว่าคำว่า “คนแก่” และ “คนชรา” ที่ใช้เรียกคนมีอายุมากๆ
- เป็นคำที่ใช้เรียกผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีความหมายคล้ายกับคนแก่ และ คนชรา แต่ความหมายของคำว่า ผู้สูงอายุ จะดีเพราะเป็นคำที่ฟ้งแล้วไม่แก่มาก
- มีความหมายคล้ายๆ กนกับคำว่าคนแก่ และ คนชรา เพราะทำอะไรไม่ไหว ไม่เหมือนวัยหนุ่มสาว
สำหรับความหมายของคำว่า “ผู้สูงอายุ” ที่ตอบนอกเหนือจากเหตุผลข้างต้นที่เป็นตัวอย่างทั้งหมดได้แสดงทัศนะที่ค่อนข้างหลากหลาย ดังเหตุผลต่อไปนี้
- ผู้ที่เป็นตัวอย่างบางคนให้เหตุผลว่า การมีอายุ 50 ปีเป็นวัยดี มีอายุมากขึ้น มิใช่เป็นกลุ่มวัยหนุ่มสาว ซึ่งประมาณอายุ ตั้งแต่ 20-49 ปี แต่พอขึ้นเลข 5 หรือมีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะถือว่าเป็นการเข้าสู่วัยสูงอายุขั้นต้น แต่บางคนก็คิดว่า อายุ 55 ปี เพราะเริ่มทำไรไม่ไหวแล้ว คำตอบต่างๆ เหล่านี้เป็นเหตุเป็นผลเฉพาะตัว
- ผู้สูงอายุบางคนได้ให้คำตอบโดยอิงเกณฑ์ราชการว่าผู้ที่มีอายุ 60ท ปี เป็นผู้สูงอายุแล้ว บางคนให้เหตุพบเพิ่มเติมว่า ผู้ที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไปเริ่มเป็นคนแก่ และ ผู้ที่มีอายุ 80 ปี ขึ้นไปเป็นคนชรา ซึ่งหมายถึงคนแก่มากๆ ไปไม่ได้ ทำอะไรไม่ไหว
- มีผู้ตอบหลายคนที่ให้เหตุผลว่า สุขภาพร่างกายเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งในการที่จะกำหนดการเป็นผู้สูงอายุ กล่าวคือเมื่อมีอายุ 60 ปีขึ้นไปร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนเมื่อก่อนอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย และเริ่มหมดสภาพไปเรื่อยๆ เช่น หูตึง ตาฟาง ปวดข้อ ปวดเข่า ในยามที่ลุกนั่งก็ได้ไม่สะดวก
- ผู้ที่เป็นตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้บางคนได้ให้เหตุผลว่าการเป็นผู้สูงอายุควรจะเริ่มต้นเมื่อบุคคลไม่สามารถจุทำงานหนักได้ อาจจะมีอายุ 50 ปี 60 ปี หรือ 70 ปี ก็ได้ถ้าบุคคลใดมีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป แต่ทำงานได้ปกติไม่ควรเรียกผู้สูงอายุ