▶️เมื่อวันเสาร์ ที่ 27 มิ.ย. 63 ที่ห้องอาหารท่าน้ำภูแล บ้านใหม่ อ.เมืองเชียงราย ได้จัดให้มีพิธีสถาปนานายกสโมสรโรตารี่ ภาค 3360 และ ร่วมแสดงความยินดีกับนายกสโมสรคนใหม่ ทั้ง 11 ท่าน จาก จ.เชียงราย และ จ.พะเยา ในปีบริหารงาน 2563 – 2564 โดยมี ผู้ว่าการภาค กมลศักดิ์ วิสิฐสกุลชัย และ แอนน์วันทนีย์ วิสิฐสกุลชัย มาเป็นประธานกล่าวให้โอวาทอวยพรการทำงานบริหารให้คณะกรรมการบริหารชุดใหม่ รวมทั้งการแสดงความยินดีกับนายกสโมสรใหม่ทั้ง 11 สโมสรฯ ด้วย
▶️สำหรับ จ.เชียงราย มีการรับส่งมอบภาระกิจนายกสโมสรโรตารีคนใหม่ ปีบริหาร 2562 – 2563
▶️นายกฯนัดดา จันหลวง นายกสโมสรโรตารี ผู้หญิงคนแรกของ สโมสรโรตารีเชียงราย ให้กับ นายกสโมสร ยงยุทธ พงษ์สวรรค์ เป็นนายกฯ สมัยที่ 2 เริ่ม 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2564
▶️นายกสโมสร ยงยุทธ กล่าวขอบคุณสมาชิกใทุกท่านที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกตนเข้ามาบริหารงานอีกวาระหนึ่ง
🚩งานแรกที่จะทำ คือ จะร่วมกับ สโมสรโรตารีใน จ.เชียงราย – จ.พะเยา รวมกัน 11 สโมสร และสโมสรโรตารีสวนจิตรลดา กรุงเทพ และชมรมผู้ประกอบการค้าไม้ จ.เชียงราย ร่วมปลูกต้นไม้
“โรตารี ร่วมใจ ปลูกป่าปีที่ 3” ในวันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม 2563
ณ บ้านป่าตึง ( ดอยจระเข้) หมู่ 7 ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย
โครงการ โรตารี ร่วมใจ ปลูกป่า
สโมสรโรตารีเชียงราย ร่วมกับ 11 สโมสรโรตารีในเชียงราย-พะเยา-กรุงเทพฯ
▶️ จากสภาวะโลกร้อนถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาให้กับโลกเราในทุกวันนี้เป็นอย่างมาก ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้น ท้งในเรื่องของมลพิษทางอากาศ การทิ้งขยะที่ทำจากพวกพลาสติกและสารพิษอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ปัจจัยสำคัญสัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ทำให้โลกของเราร้อนขึ้นทุกวัน คือ การตัดไม้ทำลายป่า เพราะต้นไม้คือสิ่งที่จะผลิตออกซิเจนทำให้ยับยั้งการเกิดมลภาวะเหล่านี้ เมื่อไม่มีต้นไม้ก็ไม่มีออกซิเจนที่จะคอยลดภาวะโลกร้อน
– เพื่อให้สมาชิกสโมสรโรตาลีและชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้านการรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และการรักษาสิ่งแวดล้อม
– เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้กับชุมชน ประเทศ ให้ระบบนิเวเกิดความสมดุล ลดปัญหาภาวะโลกร้อน
– สร้างการมีส่วนร่วมชุมชนในการดูแลรักษาป่า สร้างจิตใต้สำนึกและความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้กับประชาชนในพื้นที่
– เพื่อให้เกิความร่วมมือทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างสโมสรโรตารีเพื่อกระชับความสัมพันธ์กันแล้วบำเพ็ญกิจกรรมประโยชน์เพื่อสังคม
ด้วยการปลูกต้นไม้จำนวน 250-300 ต้น/ไร่ โดยคำนึงถึงร้อยละการปกคลุม (Cover) ตามป่าธรรมชาติเป็นการฟื้นฟูป่า รักษาป่า ไม่ตัดไม้ทำลายป่า แหล่งที่มาของป่ากล้าไม้จากศูนย์เพาะพันธุ์กล้าไม้ กรมป่าไม้ จากวัดดอยอินทรีย์ หรือซื้อกล้าที่บำรุงรักษาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี คัดเลือกชนิดพันธุ์ไม้ที่จะปลูก โดยเน้นการคัดเลือกพันธุ์ไม้ดั้งเดิมในท้องถิ่นเป็นหลักการอบรมคนในชุมชน เพื่อปลูกไม้ในใจคน ดับไฟในไจคน กระตุ้นจิตใต้สำนึก สร้างป่าสร้างรายได้ให้คนอย่ร่วมกับป่า สร้างความระหนักในการฟื้นฟูป่า รักษ์ป่า ไม่ทำลายป่า เห็นความสำคัญของต้นไม้เป็นเครื่องผลิตน้ำ พื้นที่ป่าเป็นศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อม ใช้งบประมาณ 100,000 บาท