คอลัมน์ » ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

30 พฤษภาคม 2020
1918   0

โครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมอาหารในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 นี้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลให้ดำเนินการศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 คือ เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน  เพื่อจัดทำเป็นแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารในกลุ่ม 4 จังหวัดนี้ อย่างเป็นรูปธรรม โดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปพัฒนาสินค้าเกษตรและอาหาร ยกระดับกำลังการผลิต และขยายตลาดจากเดิมที่ขายเฉพาะในพื้นที่ ไปสู่ตลาดระดับชาติและระดับนานาชาติต่อไป ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากหลายประเทศ เช่น เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น ที่ได้นำวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาพัฒนาประเทศ หลายสิบปีแล้ว จนปัจจุบัน ได้ก้าวหน้าไปมาก ดังนั้น การประชุมได้เสนอความคิด ปัญหาอุปสรรค เช่น การผลิต การตลาด และเงินทุน เป็นต้น เพื่อคณะทำงานจะได้นำไปวิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมอาหารฯ ต่อไป

4.1 ผลการประเมินรายจังหวัดจังหวัดเชียงราย การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมอาหารในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 ครั้งนี้นั้นสิ่งที่ควรคำนึงคือ ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดและบริบทของแต่ละจังหวัด คือ เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน โดยจะต้องเป็นแผนแม่บทฯ ที่แต่ละจังหวัดสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง จึงจะเกิดผลลัพธ์ที่ดี

ในส่วนของจังหวัดเชียงราย สินค้าหลักของจังหวัดเชียงรายมาจากภาคเกษตรกรรม ซึ่งนอกจากจำหน่ายในรูป Fresh product แล้ว ยังใช้เป็นวัตถุดิบขั้นต้นสำหรับการผลิตอาหารอีกด้วย ดังนั้น การจัดทำแผนแม่บทฯ ในครั้งนี้  ควรจะมองภาพตั้งแต่ภาคการเพาะปลูก การแปรรูป ไปจนถึงการจัดจำหน่าย ในประเด็นสำคัญดังนี้

  • การเพิ่มศักยภาพการผลิต คือ เน้นคุณภาพ เพิ่มมูลค่า ไม่เพิ่มปริมาณ
  • การผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย เช่น สินค้าปลอดสารเคมี สินค้าออแกนิค
  • การพัฒนาบรรจุภัณฑ์
  • การผลิตภาคเกษตรที่เป็นเกษตรยุคใหม่ รวมถึงการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งปัจจุบันอาจจำเป็นต้องใช้แนวทางการส่งเสริมการปลูกป่าต้นน้ำลำธารเนื่องจากข้อจำกัดในการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียง
  • การจัดแบ่งพื้นที่ (Zoning) สำหรับภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม
  • การส่งเสริมด้านการตลาด นอกจากจะมองตลาดระดับประเทศและระดับนานาชาติแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ การส่งเสริมให้ร้านค้า/โรงแรม/สถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดเชียงรายใช้สินค้าที่ผลิตในจังหวัดเชียงราย

สำหรับการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมอาหารในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 นั้น หากเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องครัวไทยสู่ครัวโลก พื้นที่ภาคเหนือตอนบนนี้ก็สามารถพัฒนาเป็น Lanna Food Valley ได้

ความสำคัญของเมืองนวัตกรรมอาหารต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย มีผลอย่างมากต่อการขับเคลื่อนให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นและหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนแม่บทการพัฒนาเมืองนวัตกรรมอาหารที่ดี และผู้ประกอบการในพื้นที่ต้องเป็นแกนนำในการวางแผนโดยมีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนเพื่อให้แผนสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง และตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ

อุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ ขาดโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และขาดการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคเอกชน เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคทำให้ภาคเอกชนไม่สามารถผลิตสินค้าเดิมๆ ขายได้ การวิจัยและพัฒนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และภาคเอกชนต้องมีส่วนร่วมในการลงทุนเพื่อพัฒนาดังกล่าวมากขึ้น

วิทยาการและองค์ความรู้เพิ่มความได้เปรียบในเชิงแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ควรนำองค์ความรู้มาใช้ผลิตอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเริ่มตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบไปจนถึงกระบวนการแปรรูป มีการพัฒนาหุ่นยนต์หรืออุปกรณ์อัจฉริยะและใช้ระบบประมวลผลที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มความแม่นยำและกำลังการผลิต

นวัตกรรมอาหารเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ การผลิตอาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนากระบวนการผลิตที่มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและระบบอัตโนมัติเพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณภาพ การผลิตอาหารที่มีคุณสมบัติพิเศษ มีประโยชน์ต่อสุขภาพและรสชาติดี การใช้ส่วนผสม (Ingredient) ที่มาจากแหล่งธรรมชาติ ซึ่งการวิจัยและพัฒนาเรื่องการสกัดสารจากวัตถุดิบจากธรรมชาติในเขตภาคเหนือตอนบนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีวัตถุดิบมาก และความต้องการของตลาดสูง รวมไปถึงการพัฒนาด้านการจัดการห่วงโซ่อาหาร ซึ่งสถาบันการศึกษาในพื้นที่ควรร่วมมือกันทำงานเป็นทีมเพื่อใช้องค์ความรู้ที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันในแต่ละสถาบันให้เกิดประโยชน์แก่ภาคเอกชนเช่น การสร้างโรงงานนำร่องที่เป็นพื้นที่พิเศษที่ให้บริการด้านการวิจัยอาหารและถ่ายทอดให้แก่เอกชน

ความท้าทายในการทำนวัตกรรมอาหาร ได้แก่ กฎหมายและการควบคุม กำกับ ดูแลที่เข้มงวด ไม่ทันสมัย ใช้งบประมาณสูงและใช้เวลานาน และพฤติกรรมการยอมรับของผู้บริโภคที่อาจยึดติดกับรูปแบบเดิม และผู้บริโภคมีความแตกต่างด้านภูมิภาค ศาสนา ความรู้และความตระหนัก

บทบาทและหน้าที่ของเมืองนวัตกรรมอาหารต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทยเมืองนวัตกรรมอาหารเป็นพื้นที่พิเศษเฉพาะทางที่มีความพร้อมในการบริการด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอาหารแก่ภาคเอกชนอย่างครบวงจรพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของจังหวัดเชียงรายนั้นเชียงรายควรเน้น “เชียงรายเมืองเกษตรปลอดภัย” คือ ปลอดภัยทั้งแบบบริโภคสดและแบบแปรรูป  มองภาพ Organic product ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง รวมถึงเรื่อง Zero waste ซึ่งอุตสาหกรรมที่ควรสนับสนุนของจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ สินค้าเกษตรแปรรูป อาหารและเครื่องดื่ม และสมุนไพรและยา  สำหรับปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนอุตสาหกรรมอาหารในจังหวัดเชียงราย คือ ผังเมือง (การจัด zoning พื้นที่อุตสาหกรรม) และเงินกู้เพื่อการลงทุน  และเพื่อสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขัน ผู้ประกอบการควรร่วมมือกัน จัดตั้งเป็นกลุ่ม เป็น Cluster เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แทนการแข่งขันซึ่งกันและกัน และต่างคนต่างทำ  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารของจังหวัดเชียงรายได้การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของจังหวัดเชียงรายควรมุ่งเน้นความสามารถในตลาดสากล  ซึ่งต้องเกิดจาก 1)ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในด้านต่างๆ เช่น องค์ความรู้ กฎหมาย และระบบโลจิสติกส์  และ 2)การสร้างอัตลักษณ์ด้านอาหารของจังหวัดเชียงราย เช่น น้ำเงี้ยวเชียงรายที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและแตกต่างจากน้ำเงี้ยวของจังหวัดอื่นๆ สำหรับการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมอาหารในจังหวัดเชียงรายนั้น ควรมองในภาพรวม คือ ตั้งแต่ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชย์ การจัดทำ Zoning (หากจำเป็น) ก็ต้องรีบดำเนินการ เนื่องจากการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมรอความชัดเจนในเรื่องนี้ นอกจากนี้ ในส่วนของความช่วยเหลือจากภาครัฐนั้น เอกชนต้องการห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ในพื้นที่ เพราะการส่งตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์ที่กรุงเทพฯ มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานานมาก  การจัดระบบโลจิสติกส์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ภาคเอกชนต้องการให้รัฐเข้ามาดำเนินการจัดการบริหารเพื่อให้เกิดความเสมอภาค



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า