คอลัมน์ » คุยกับ ดร.ปรีชา

คุยกับ ดร.ปรีชา

20 พฤษภาคม 2019
980   0

ตอนที่18

  • จังหวัดแพร่

3.2.3.1 ด้านการเกษตร

ประชากรในจังหวัดแพร่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การผลิตพืช การผลิตสัตว์ และการทำป่าไม้  โดยผลิตผลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารได้มาจากการทำเกษตรกรรม ดังนี้

(1) การผลิตพืช

พืชเศรษฐกิจของจังหวัดแพร่ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อมูลย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 – 2559 มีจำนวน 6 ชนิดพืช ได้แก่ (1) ข้าว (2) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (3) มันสำปะหลัง (4) ถั่ว-เหลือง (5) ยางพารา และ (6) พริกหนุ่มเขียว

จากการสำรวจ พบว่าจำนวนชนิดพืชที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกร 5 ลำดับแรก มีมูลค่าเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลสอดคล้องกับชนิดพืชเศรษฐกิจของจังหวัด ดังแสดงในตารางที่ 30 (ไม่มีข้อมูลผลผลิตของพริกหนุ่มเขียว)

 

ตารางที่ 30      พืชเศรษฐกิจของจังหวัดแพร่

ลำดับชนิดพืชเนื้อที่เพาะปลูก (ไร่)ผลผลิต (ตัน)
 พ.ศ. 2557พ.ศ. 2558พ.ศ. 2559พ.ศ. 2557พ.ศ. 2558พ.ศ. 2559
1ข้าวนาปี283,736269,009271,505154,402145,505151,818
2ข้าวนาปรัง27,41720,00938,81516,44510,87724,531
3ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์321,021325,053312,163194,570192,546189,207
4มันสำปะหลังN/A20,14421,791N/A59,97163,487
5ถั่วเหลือง14,5556,5156,3693,3971,4831,470
6ยางพารา33,37033,25532,6361,1891,2341,447
7ลำไย5,6935,0324,7762,8242,094963

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2559

 

จังหวัดแพร่มีพืชเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร คือ ข้าว ถั่วเหลือง ลำไย และพริกหนุ่มเขียว  โดยส่วนใหญ่ผลิตเป็นวัตถุดิบเพื่อเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป  ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยเริ่มตั้งแต่ผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพสูง การจัดการการเพาะปลูกที่ได้มาตรฐาน และเน้นการผลิตอย่างปลอดภัย  จะเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรให้กับจังหวัดแพร่นอกจากนี้ การทำเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์จะเป็นรากฐานสำคัญเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงและเพิ่มโอกาสทางการตลาดได้

 

(2) การผลิตสัตว์

การผลิตสัตว์ที่สำคัญของจังหวัดแพร่มี  6 ประเภท ได้แก่ (1) การเลี้ยงโคเนื้อ (2) การเลี้ยงกระบือ (3) การเลี้ยงสุกร (4) การเลี้ยงไก่เนื้อ (5) การเลี้ยงไก่ไข่ และ (6) การประมงน้ำจืด  ข้อมูลปริมาณโคเนื้อ กระบือ สุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่ ของจังหวัดแพร่ย้อนหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 – 2559  แสดงในตารางที่ 31  พบว่า ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการเลี้ยงโคเนื้อและกระบือค่อนข้างคงที่ การเลี้ยงสุกรและไก่ไข่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณไข่ไก่ที่เพิ่มขึ้น  ในขณะที่การเลี้ยงไก่เนื้อมีปริมาณลดลง

 

ตารางที่ 31 การปศุสัตว์ของจังหวัดแพร่

ลำดับชนิดสัตว์จำนวน (ตัว/ฟอง)
พ.ศ. 2557พ.ศ. 2558พ.ศ. 2559
1โคเนื้อ45,96145,14845,624
2กระบือ4,9585,1935,294
3สุกร83,41984,23385,586
4ไก่เนื้อ200,772192,465176,141
5ไก่ไข่144,947154,006197,828
6ไข่ไก่32,44734,56144,332

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2559)

 

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจและลงพื้นที่พบว่า การผลิตสัตว์ที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในจังหวัดแพร่เป็นไปในลักษณะของการใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูป โดยเฉพาะสุกร ซึ่งเป็นการแปรรูปในระดับครัวเรือน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และวิสาหกิจชุมชน เช่น แคบหมู หมูสวรรค์ หมูสามรส หมูกระจก หมูยอ แหนม เป็นต้น

สำหรับการประมงของจังหวัดแพร่ เป็นการทำประมงน้ำจืด โดยเพาะเลี้ยงตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติและเป็นการผลิตเพื่อบริโภคในจังหวัด  บางส่วนใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในระดับครัวเรือน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และวิสาหกิจชุมชน เช่น ปลาร้า ปลาส้ม เป็นต้น

 

3.2.3.2 ด้านอุตสาหกรรม

ภาพรวมของอุตสาหกรรมในจังหวัดแพร่ ปี พ.ศ. 2557 (ตารางที่ 32)  มีสถานประกอบการอุตสาหกรรมทั้งหมดจำนวน 1,977 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2556 ที่มีอยู่เดิมจำนวน 1,883 แห่ง  คิดเป็นร้อยละ 4.99  โรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลอำเภอเมืองแพร่ อำเภอสูงเม่น และอำเภอเด่นชัย  เนื่องจากมีความสะดวกทางด้านการคมนาคมขนส่งและสาธารณูปโภค  การลงทุนภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดแพร่ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน  อุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตรอาหารและเครื่องดื่ม และอโลหะ  โดยอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารมีจำนวน 203 แห่ง หรือ ร้อยละ 10.27 จากอุตสาหกรรม ทั้งหมดจำนวน 1,977 แห่ง

 ตารางที่ 32 สถานประกอบการอุตสาหกรรมในจังหวัดแพร่แยกตามประเภท ปี พ.ศ. 2556 – 2557

ประเภทอุตสาหกรรมจำนวน (แห่ง)
พ.ศ. 2556พ.ศ. 2557
การเกษตร181175
อาหาร2627
เครื่องดื่ม24
สิ่งทอ44
เครื่องแต่งกาย55
เครื่องหนัง23
ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้454487
เฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน946904
กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ43
สิ่งพิมพ์55
เคมี66
ปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์33
ยาง22
พลาสติก76
อโลหะ3135
โลหะ22
ผลิตภัณฑ์โลหะ2830
เครื่องจักรกล1919
ขนส่ง5047
อื่นๆ106210
รวม1,8831,977

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

 

ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในจังหวัดแพร่มีการผลิตในหลายระดับ ตั้งแต่อุตสาหกรรมในครัวเรือน (วิสาหกิจชุมชน และ OTOP)  อุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือขนาดย่อม (Small and Medium Enterprise: SME) และอุตสาหกรรมขนาดกลาง

อุตสาหกรรมในครัวเรือน  เป็นการนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าด้วยกรรมวิธีต่างๆ จากการสำรวจข้อมูลสินค้า OTOP ในปี 2557 – 2558 (ตารางที่ 33) พบว่า สินค้า OTOP ในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม 173 รายการ จัดอยู่ในระดับ 2 และ 3 ดาว ถึงร้อยละ 87.37 จากจำนวนสินค้า OTOP ทั้งหมด 198 รายการ

 

ตารางที่ 33 สินค้า OTOP ประเภทอาหารและเครื่องดื่มในปี 2558 ของจังหวัดแพร่

ระดับ OTOP*จำนวนสินค้า (รายการ)
อาหารเครื่องดื่มรวม
5 ดาว*12921
4 ดาว224
3 ดาว421557
2 ดาว7739116

ที่มา: กรมการพัฒนาชุมชน 2559

 

หมายเหตุ    * ระดับ 5 ดาว เป็นสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานหรือมีศักยภาพในการส่งออก

ระดับ 4 ดาว เป็นสินค้าที่มีศักยภาพเป็นที่ยอมรับระดับประเทศและสามารถพัฒนาสู่สากล

ระดับ 3 ดาว เป็นสินค้าที่มีคุณภาพระดับกลางที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 4 ดาว ได้

ระดับ 2 ดาว เป็นสินค้าที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 3 ดาวมีการประเมินศักยภาพเป็นระยะ

โดยเกณฑ์การคัดสรรพิจารณาจาก (1) ด้านผลิตภัณฑ์และความเข้มแข็งของชุมชน (การผลิต  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และความเข้มแข็งของชุมชน) (2) ด้านการตลาดและความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ และ (3) ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ (การตรวจสอบ/ วิเคราะห์คุณภาพตามประเภทผลิตภัณฑ์ โอกาสทางการตลาดสู่สากล) จากข้อมูลในตารางที่ 33  สินค้า OTOP ของจังหวัดแพร่ ยังต้องการการพัฒนาและยกระดับคุณภาพ  ดังนั้น การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน พัฒนาทักษะฝีมือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมการวิจัยและเทคโนโลยีสู่การนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง การสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ จะเป็นแนวทางเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดให้กับกลุ่มผู้ผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหารได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทและความพร้อมของผู้ประกอบการ



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า