คอลัมน์ » สรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากแบบสอบถาม

สรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากแบบสอบถาม

2 มีนาคม 2021
538   0

2.5 การตลาด เช่น ช่องทางการตลาด ราคา ส่งออก

ด้านช่องทางการตลาด

  • ช่องทางการจัดจำหน่ายน้อย ไม่หลากหลาย ปัจจุบันเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ จึงต้องการการอบรมให้ความรู้ด้านการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่าย เช่น การขายตรง ขายออนไลน์ และแสวงหาตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ

ด้านราคา

  • ไม่สามารถกำหนดราคาได้เอง

ด้านส่งออก

  • ไม่ทราบขั้นตอนในการส่งออก ต้องการเทคนิคการจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆให้มากขึ้น

ด้านอื่นๆ

  • ช่องทางการจัดจำหน่ายก็มีคู่แข่งมากมาย
  • ขาดการประชาสัมพันธ์ ยังไม่มีคนรู้จักผลิตภัณฑ์

2.6 แหล่งทุน

  • ขาดการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของหน่วยงานภาครัฐ
  • ต้องการแหล่งเงินทุนที่ไม่มีดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำ
  • ขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน
  • ขาดเงินทุนหมุนเวียน

2.7 แรงงาน เช่น จำนวนคุณภาพ

ด้านจำนวน

  • ขาดแคลนแรงงาน
  • ปริมาณแรงงานขึ้นอยู่กับฤดูกาล

ด้านคุณภาพ

  • คนรุ่นใหม่ขาดทักษะและประสบการณ์
  • ขาดความรู้
  • ขาดแรงงานด้านบริหาร
  • ค่าแรงสูง ไม่สอดคล้องกับความสามารถ

3.ความต้องการในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมอาหาร

3.1 ความต้องการจากภาครัฐ

  • เงินทุนในการดำเนินการและการเข้าถึงแหล่งทุนที่ไม่มีดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำ
  • การลดค่าธรรมเนียมและขั้นตอนในการยื่นขอมาตรฐาน เช่น GMP ฮาลาล อย. มผช.
  • การสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนอย่างชัดเจน
  • การพัฒนาด้านสายพันธุ์พืช/วิจัยโรคพืช
  • การสนับสนุนในการจัดสร้างโรงเรือนส่วนกลางเพื่อให้บริการผู้ประกอบการ เช่น ยุ้งฉาง ไซโล และห้องเย็น
  • การสนับสนุนการศึกษาดูงาน
  • การจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ
  • การจัดการประกวดแข่งขันผลิตภัณฑ์อาหาร และออกใบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์

3.2 ความต้องการจากภาคสถาบันอุดมศึกษา

  • ความรู้ด้านการตลาด เช่น การจัดอบรม E-commerce และแผนธุรกิจ
  • การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจ รวมถึงการออกแบบโลโก้บรรจุภัณฑ์
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจของผู้บริโภค
  • ความรู้ด้านการผลิต การแปรรูป การจัดทำแบรนด์ และการสร้าง story ให้ผลิตภัณฑ์
  • ความรู้ด้านการจัดเก็บและการยืดอายุผลิตภัณฑ์
  • ความรู้ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาในการจัดทำระบบคุณภาพ เช่น GAP/GMP/HACCP/ISO
  • งานวิจัยเพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค
  • โรงงานต้นแบบเพื่อทดลองผลิตสินค้าตัวอย่าง

4.ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมอาหารในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2

  1. การจัดเขตพื้นที่อุตสาหกรรมของจังหวัดน่าน (Zoning)
  2. การกำหนดนโยบาย/มาตรการ
  • สนับสนุนให้มีนโยบายส่งเสริมอาหารปลอดภัย และนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม
  • สร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ของจังหวัดน่าน และกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวโดยใช้เรื่องราวอาหารในจังหวัดน่าน
  • ส่งเสริมการทำเกษตรครบวงจรและยั่งยืน
  1. การประชาสัมพันธ์สินค้าของจังหวัดน่านอย่างทั่วถึง ทั้งในระดับภูมิภาค ประเทศ และนานาชาติ
  2. การรวมกลุ่มผู้ผลิตเพื่อสร้างเครื่องหมายสินค้าของจังหวัดและส่งออกร่วมกัน
  3. การจัดตั้งศูนย์แสดงและกระจายสินค้าเพื่อส่งเสริมการตลาดในจังหวัด
  4. การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอ
  5. การวิเคราะห์ SWOT ของผู้ประกอบการในจังหวัดน่าน
  6. การบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมอาหาร โดยให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ภายใต้การกำกับประสานงานกลางระดับจังหวัด



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า