คอลัมน์ » คุยกับ ดร.ปรีชา

คุยกับ ดร.ปรีชา

2 สิงหาคม 2019
1362   0

ตอนที่ 21

จังหวัดน่าน

ด้านการเกษตร

            (1) การผลิตพืช

จังหวัดน่าน มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกร 77,363 ครัวเรือน  มีพื้นฐานด้านการเกษตรเป็นแหล่งผลิตอาหารเป็นหลัก ประชาชนร้อยละ 65 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในจังหวัด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6,867 ล้านบาทต่อปี โดยเมื่อพิจารณาจากพื้นที่ปลูก ข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2557 – 2559 มีจำนวน 6 ชนิดพืช ได้แก่ (1) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (2) ข้าว (3) ลำไย (4) ลิ้นจี่ (5) ถั่วเหลือง (6) กาแฟ และ (7) ส้มเขียวหวาน ตามลำดับ  ข้อมูลพื้นที่ปลูกและปริมาณผลผลิตพืชเศรษฐกิจของจังหวัดน่าน ย้อนหลังระหว่างปี 2557 – 2559 แสดงดังตารางที่ 39

 

ตารางที่ 39 พืชเศรษฐกิจของจังหวัดน่าน

ลำดับ

ชนิดพืช เนื้อที่เพาะปลูก (ไร่) ผลผลิต (ตัน)
พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2559
1 ข้าวนาปี 221,923 207,820 210,581 115,087 104,915 108,722
2 ข้าวนาปรัง 4,800 4,229 3,659 2,670 2,315 2,110
3 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 854,177 816,532 793,504 517,549 475,346 470,959
4 ลำไย 33,589 33,818 33,166 20,128 16,741 14,714
5 ลิ้นจี่ 17,626 16,891 16,095 6,029 4,909 2,505
6 ถั่วเหลือง 9,976 9,144 8,891 2,484 2,441 2,395
7 กาแฟ N/A 4,546 4,611 N/A 378 450
8 ส้มเขียวหวาน 1,973 2,142 2,142 1,290 1,705

1,806

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2559

จากข้อมูลพืชเศรษฐกิจ พบว่า สินค้าเกษตรหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด คือ ข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ซึ่งในปัจจุบันเป็นลักษณะของการแปรรูปขั้นต้น โดยมีสินค้าหลัก คือ ข้าวสารและข้าวโพดอบแห้ง เนื่องจากโรงงานแปรรูปขนาดใหญ่ในจังหวัดมีปริมาณน้อย กลุ่มสินค้าหลักเป็นระดับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)  สินค้าที่สำคัญที่สามารถเพิ่มมูลค่าของข้าวในจังหวัดคือ การผลิตสุรากลั่น ทั้งในรูปแบบสินค้า OTOP และวิสาหกิจชุมชน

            (2) การผลิตสัตว์

การผลิตสัตว์ที่สำคัญของจังหวัดน่านมี 7 ประเภท ได้แก่ (1) การเลี้ยงโคเนื้อ (2) การเลี้ยงกระบือ (3) การเลี้ยงสุกร (4) การเลี้ยงไก่เนื้อ (5) การเลี้ยงไก่ไข่ (6) การเลี้ยงเป็ดเนื้อ และ (7) การเลี้ยงเป็ดไข่ โดยข้อมูลการผลิตโคเนื้อ กระบือ สุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่ ของจังหวัดน่าน ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2557 – 2559 แสดงในตารางที่ 40 เมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการผลิตสุกรและไข่ไก่มีปริมาณการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลดังกล่าวมีความสอดคล้องกับข้อมูลการผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และวิสาหกิจชุชนของจังหวัดน่าน โดยสินค้า OTOP และวิสาหกิจชุมชมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์ของจังหวัดน่าน ได้แก่ แหนมหมู ลูกชิ้นหมู หมูยอ และไข่เค็ม

 

ตารางที่ 40      การปศุสัตว์ของจังหวัดน่าน

ลำดับ

ชนิดสัตว์ จำนวน (ตัว)
พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2559
1 โคเนื้อ 42,489 41,587 41,387
2 กระบือ 10,074 8,167 8,292
3 สุกร 68,046 69,137 70,577
4 ไก่เนื้อ 34,176 44,914 28,700
5 ไก่ไข่ 99,473 109,510 113,387
6 ไข่ไก่ 19,471 18,682 17,781
7 เป็ดเนื้อ 5,155 4,779 4,260
8 เป็ดไข่ 42,489 41,587

41,387

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2559)