คอลัมน์ » คุยกับ ดร.ปรีชา

คุยกับ ดร.ปรีชา

4 กันยายน 2019
997   0

ตอนที่ 22

ด้านอุตสาหกรรม

การแปรรูปอาหารและเครื่องดื่มในจังหวัดน่านมีการผลิตในหลายระดับตั้งแต่อุตสาหกรรมในครัวเรือน (วิสาหกิจชุมชน และ OTOP) อุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือขนาดย่อม (Small and Medium Enterprise: SME) อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ข้อมูล OTOP และวิสาหกิจชุมชน ในปี 2557-2558 แสดงดังตารางที่ 41

ตารางที่ 41      สินค้า OTOP ประเภทอาหารและเครื่องดื่มในปี 2558 ของจังหวัดน่าน

ระดับ OTOP*จำนวนสินค้า (รายการ)
อาหารเครื่องดื่มรวม
5 ดาว2727
4 ดาว11
3 ดาว0
2 ดาว

ที่มา: กรมการพัฒนาชุมชน 2559

 

หมายเหตุ   *    ระดับ 5 ดาว เป็นสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน หรือมีศักยภาพในการส่งออก

ระดับ 4 ดาว เป็นสินค้าที่มีศักยภาพ เป็นที่ยอมรับระดับประเทศ และสามารถพัฒนาสู่สากล

ระดับ 3 ดาว เป็นสินค้าที่มีคุณภาพระดับกลางที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 4 ดาวได้

ระดับ 2 ดาว เป็นสินค้าที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 3 ดาว มีการประเมินศักยภาพเป็นระยะ

 

จากข้อมูลในตารางที่ 41  สรุปได้ว่า สินค้า OTOP ร้อยละ 96.4 เป็นสินค้าระดับ 5 ดาว ที่มีศักยภาพในการส่งออกไปยังต่างประเทศ  สินค้าอาหาร OTOP หลัก ของจังหวัดน่าน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากข้าว เช่น ข้าวแต๋น และข้าวกรอบ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปศุสัตว์ เช่น แหนม และหมูยอ เป็นต้น จากการเก็บข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตรในปี 2559 พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดน่านมีจำนวนทั้งสิ้น 167 ราย โดยมีกลุ่มวิสาหกิจหลัก ได้แก่ การผลิตสุรากลั่น 24 ราย (ร้อยละ 14.4)  การผลิตปศุสัตว์ 19 ราย (ร้อยละ 13.4) และผลิตภัณฑ์กาแฟ 17 ราย (ร้อยละ 10.2)

ข้อมูลอุตสาหกรรมหลักในจังหวัดน่าน ปี 2558 (ตารางที่ 42) พบว่า มีสถานประกอบการอุตสาหกรรมทั้งหมดจำนวน 419 แห่ง โดยอุตสาหกรรมหลัก 10 อันดับแรก มีจำนวน 342 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 81.62 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด โดยจังหวัดน่านมีโรงงานดำเนินการด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน (ยอดสะสมถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2559) จำนวนทั้งหมด 157 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 จำนวน 1 โรงงาน โรงงานอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารคิดเป็นร้อยละ 37.29 จากโรงงานทั้งหมดทุกอุตสาหกรรมในจังหวัดน่าน 421 โรงงาน ปัจจุบันมีเงินลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตร จำนวน 812.992 ล้านบาท และอุตสาหกรรมอาหารจำนวน 132.347 ล้านบาท และมีการจ้างงานรวมกันจำนวน 998 คน อุตสาหกรรมเกษตรที่สำคัญของจังหวัดน่าน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร โรงสีข้าว บ่มใบยาสูบ อบพืชและเมล็ดพืช  เช่น อบเมล็ดข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ลำไย ถั่วลิสง เป็นต้น ส่วนอุตสาหกรรมอาหารมีการผลิตและแปรรูปอาหาร ได้แก่ การทำน้ำแข็งและน้ำดื่ม การทำผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ เช่น ลูกชิ้นหมู แหนมหมู การผลิตนมพาส์เจอร์ไรส์ น้ำผลไม้ ผักดอง หน่อไม้ปี๊ป ลูกต๋าวเชื่อม และเส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น

 

ตารางที่ 42      อุตสาหกรรมหลัก 10 อันดับของจังหวัดน่าน ปี 2558

ลำดับสาขาการผลิตจำนวน (โรง)ร้อยละของโรงงานทั้งหมด
1อุตสาหกรรมเกษตร13131.26
2อุตสาหกรรมอโลหะ4811.46
3อุตสาหกรรมขนส่ง4610.98
4อุตสาหกรรมไม้และและผลิตภัณฑ์จากไม้389.07
5อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ286.68
6อุตสาหกรรมอาหาร255.97
7อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล102.39
8อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน92.15
9อุตสาหกรรมยาง40.95
10อุตสาหกรรมเคมี30.72
รวม34281.63

ที่มา: สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน (2559)

 

เมื่อพิจารณาสัดส่วนการผลิตจากอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของจังหวัดน่าน (ตารางที่ 43) พบว่า โรงงานอาหารหลักในจังหวัดน่าน คือ การแปรรูปข้าว ได้แก่ โรงสีข้าว การผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว ผลผลิตรองลงมา คือ การแปรรูปข้าวโพด ได้แก่ การอบข้าวโพด ผลพลอยได้ที่ได้จากอุตสาหกรรมดังกล่าว ได้แก่ แกลบ รำข้าว และซังข้าวโพด ดังนั้น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มภาคการเกษตรโดยการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดน่าน และควรมีการส่งเสริมนโยบายการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดน่าน เนื่องจากมีการลดพื้นที่ของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นทดแทน เช่น กาแฟ พริก ถั่วเหลือง ผักกาด มะละกอ และพืชที่สามารถป้อนสู่โรงงานในพื้นที่ได้

 

ตารางที่ 43      โรงงานแปรรูปอาหารโดยแบ่งตามจำพวก ปี 2559

กลุ่มโรงงานตามวัตถุดิบจำนวนโรงงานแปรรูปอาหาร (แห่ง)
จำพวก 1จำพวก 2จำพวก 3
ข้าว6811
ข้าวโพด218
ชา1
ลำไย111
ประมง11
ปศุสัตว์111
ผลไม้1
ผัก11
ถั่วลิสง1
หน่อไม้14
ลูกต๋าว1
มะม่วงหิมพานต์4
นม1
ไอศกรีม2
รวม78929

ที่มา: สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน (2559)

ด้านเศรษฐกิจ

ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดน่าน (Gross Provincial Products: GPP) ในปี 2557 มีมูลค่า 27,205 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด GPP ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2553 – 2557 แยกตามประเภทแสดงในตารางที่ 44  ซึ่ง GPP ของจังหวัดน่านแบ่งเป็น GPP ภาคเกษตร 9,205 ล้านบาท (ร้อยละ 33.29) และ GPP ภาคนอกเกษตร 18,446 ล้านบาท (ร้อยละ 66.71) โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร (GPP per capita) ในปี 2557 เท่ากับ 60,010 บาท จากเดิมในปี 2556 เท่ากับ 58,827 บาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.01)

อย่างไรก็ตาม สภาพเศรษฐกิจจังหวัดน่านในปี 2559 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 และลดลงจากที่ได้คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมีนาคม 2559 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 และจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่า ปี 2556 จังหวัดน่านมีผลิตภัณฑ์มวลรวม 25,929 ล้านบาท ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 57,901 บาท ต่อคน ต่อปี คิดเป็นอันดับที่ 74 ของประเทศ หรืออันดับที่ 16 ของภาคเหนือ

ตารางที่ 44      ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดน่าน (GPP) และโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัด ณ ราคาประจำปี จำแนกตามสาขาการผลิต

สาขาการผลิตพ.ศ.
25532554255525562557
ภาคเกษตร6,7207,0098,3818,4859,205
เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้6,6136,9028,2718,3519,056
การประมง107106110134150
ภาคนอกเกษตร15,29115,5777,56217,85818,000
การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน135119154175155
อุตสาหกรรม1,1521,2481,2061,3551,516
การไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา268270312354389
การก่อสร้าง1,0251,0311,6091,4771,383
การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน2,1892,1792,6142,5302,884
โรงแรมและภัตตาคาร819398114130
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม505551601652645
ตัวกลางทางการเงิน1,3841,4211,6241,9272,183
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ1,7881,6381,4661,5701,286
การบริหารราชการแผ่นดินและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกัน สังคมภาคบังคับ2,3602,5853,2172,7672,036
การศึกษา3,2913,2383,2933,5473,923
การบริการด้านสุขภาพและสังคม  723  770  869  907  958
การให้บริการชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่นๆ  297  331  377  405  407
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล  93  104  121  77  104
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด  2,01122,58625,94326,34327,205
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ต่อคน (บาท)  8,630 50,06757,71458,82761,010
ประชากร (1,000 คน)  453  451  450  448  446

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2559

 



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า