ตอนที่ 20
ประชากรในจังหวัดแพร่ ณ เดือนมิถุนายน 2559 (ตารางที่ 37) มีจำนวนทั้งสิ้น 450,872 คนจำแนกเป็นเพศชาย 218,505 คน (ร้อยละ 48.46) และเพศหญิง 232,367 คน (ร้อยละ 51.54) เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในปี 2558 ซึ่งมีจำนวน 454,754 คน พบว่า ลดลงร้อยละ 0.85 โดยส่วนใหญ่เป็นประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน และหากพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังไปในปี 2548 และ 2558 (รูปที่ 5) พบว่า ประชากรวัยเด็กในจังหวัดแพร่มีแนวโน้มลดลง ส่วนประชากรในวัยทำงานมีแนวโน้มคงที่ และประชากรในวัยสูงอายุมีแนวโน้มสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่า ในอนาคตสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ควรเตรียมความพร้อมทั้งในด้านนโยบาย สวัสดิการ หรือโครงการเพื่อรองรับประชากรวัยสูงอายุที่เพิ่มขึ้นรวมถึงผลกระทบต่อแรงงานในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในอนาคต
ตารางที่ 37 ประชากรของจังหวัดแพร่
อำเภอ | จำนวน (คน) | ||
ชาย | หญิง | รวม | |
เมืองแพร่ | 56,587 | 62,478 | 119,065 |
สูงเม่น | 36,491 | 39,433 | 75,924 |
เด่นชัย | 18,019 | 18,120 | 36,139 |
สอง | 24,750 | 26,015 | 50,765 |
ลอง | 27,252 | 27,946 | 55,198 |
หนองม่วงไข่ | 8,442 | 9,487 | 17,929 |
ร้องกวาง | 23,776 | 25,636 | 49,412 |
วังชิ้น | 23,188 | 23,252 | 46,440 |
รวม | 218,505 | 232,367 | 450,872 |
ที่มา: ที่ทำการปกครองจังหวัดแพร่ (ข้อมูล ณ มิถุนายน 2559)
สภาวะแวดล้อมและปัจจัยภายใน (จุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนา) และปัจจัยภายนอก (โอกาส ข้อจำกัด) รูปที่ 5 โครงสร้างประชากรเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2548 และ 2558 (ที่มา: สำนักงานสถิติจังหวัดแพร่)
จากการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์และศักยภาพในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของจังหวัดแพร่ และนำเอาข้อมูลเชิงประจักษ์มาวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนา โอกาส และอุปสรรค สรุปได้ดังแสดงในตารางที่ 38
ตารางที่ 38 ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการพัฒนาสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมอาหารของจังหวัดแพร่
ปัจจัยภายใน | ปัจจัยภายนอก | ||
จุดแข็ง | จุดที่ควรพัฒนา | โอกาส | ข้อจำกัด |
เป็นประตูสู่ล้านนา มีศักยภาพเชิงภูมิศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับจังหวัดอื่นๆ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง GMS และประเทศข้างเคียง เอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์ กระจายสินค้าเกษตรและอาหาร | ระบบชลประทานไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่การเกษตร ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ ภัยแล้ง และปัญหาอุทกภัยต่อเนื่องทุกปี | รัฐบาลมีโครงการที่จะพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ การขยายเส้นทางคมนาคมทางบก โดยเฉพาะทางรถยนต์ที่จะขยายเส้นทางเชื่อมโยงกับจังหวัดต่างๆให้ได้มาตรฐานรวมทั้งการมีแผนที่จะก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ และแผนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง | สภาวะทางเศรษฐกิจที่ไม่มีเสถียรภาพ เกิดการชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจ ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน และความต่อเนื่องในการดำเนินงาน |
− มีวิถีชีวิตมรดกทางวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย − มีโอกาสทางการตลาดในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรและอาหาร | ประชาชนมีฐานะยากจน มีรายได้ต่ำกว่าค่ากลางของประเทศ | รัฐบาลมีนโยบายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทำให้เกิดการพัฒนาผู้ประกอบการท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง | การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของผลิตผลทางการเกษตร และทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ |
มีผลิตภัณฑ์อาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์มีโอกาสต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงได้ | ขาดความรู้ความเข้าใจในการเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรและอาหาร รวมถึงขาดแรงงานที่มีทักษะ | รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้า OTOP ผลิตภัณฑ์ชุมชน | ประชากรมีอัตราการเกิดวัยทำงานลดลง แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ |
มีความร่วมมือ การสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เอกชน และรัฐ ทำให้การดำเนินงานของจังหวัดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ | การใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรในสัดส่วนที่สูง ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและกระทบสภาพแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน | แนวโน้มการตื่นตัวสุขภาพ ทำให้คนหันมาสนใจอาหารปลอดสารพิษ | ระเบียบและกฎหมายไม่สามารถเอื้อประโยชน์และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของการประกอบอาชีพในท้องถิ่นที่เป็นการส่งต่อทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา เช่น การผลิตสุราพื้นบ้าน |